พยาธิตัวกลม (Nematoda)
Ascaris
lumbricoides (พยาธิตัวกลม)
เป็นสาเหตุของโรคคือ Ascaris lumbricoides เป็นพยาธิตัวกลมมีขนาดใหญ่
ตัวผู้จะมีความยาว 15-30 ซม ตัวเมียจะมีความยาว 25-35
ซมตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 200000 ฟองทำให้ง่ายต่อการตรวจอุจาระหาไข่พยาธิ
รูปที่1 : วงจรชีวิตของพยาธิไส้เดือน
วงจรชีวิต
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก
แย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน ตัวแก่มีอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี [1] มีสองเพศคือตัวผู้และตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่วันละประมาณ 200,000 ฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจาระ [2] ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะไม่สามารถติดต่อ
ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนในเวลา 10-21 วัน
เมื่อคนกินในระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อ [3], depending on the
environmental conditions (optimum: moist, warm, shaded soil). เมื่อตัวอ่อนถูกกิน [4], ตัวอ่อนจะไชทะลุผนังลำไส้ [5],
ไปตามหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เข้าสู่ปอด[6]. ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในปอดโดยใช้เวลาประมาณ10 ถึง
14 วัน ตัวแก่จะไชผ่านผนังของถุงลม เข้าหลอดลม เข้าคอ
และถูกกลืน [7] เชื้อจะเจริญเป็นตัวแก่ [1]ที่ลำไส้เล็ก. ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งโตเป็นตัวแก่ใช้เวลา 2-3
เดือน ตัวแก่สามารถมีอายุ 1-2 ปี
โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลมจะแพร่กระจายในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นเนื่องจากเขตภาคใต้มีความชุ่มชื้นตลอดปี
อากาศก็ไม่ร้อน โรคมักจะเป็นในเด็กเพราะเด็กมักจะกิน หรือเล่นบนพื้นดิน
กรติดต่อ : โรคนี้มักจะเกิดกับเด็กนำเอามือที่ปนเปื้อนดินและมีไข่พยาธิเข้าปาก
อาการ : อาการของโรคพยาธิไส้เดือนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
1) อาการเกิดจากพยาธิตัวอ่อนกำลังเดินทาง
ขณะที่ตัวอ่อนกำลังเดินทางจากลำไส้ไปปอดอาจจะทำให้เกิดไข้ ไอ หายใจแน่ หอบเหนื่อย
เสมหะอาจจะมีเลือดปน อาจจะมีพยาธิตัวอ่อนออกมาด้วย บางคนอาจจะเกิดลมพิษอาการเหล่านี้มักจะเกิดภายหลังจากไดรับไข่พยาธิ
4-16 วัน
2) อาการเกิดจากตัวแก่
เนื่องจากพยาธิตัวแก่จะแย่งอาหารเด็กอาจจะขาดอาหาร อาจจะมีลมพิษ
หากมีพยาธิเป็นจำนวนมากอาจจะเกาะกันเป็นก้อนทำให้อุดทางเดินลำไส้หรือทางเดินน้ำดีทำให้เกิดอาการดีซ่าน
3) ปวดท้องเนื่องจากพยาธิอุดลำไส้
4) เสียดท้อง
คลื่นไส้อาเจียน
5) ตับอ่อนอักเสบ
เนื่องจากพยาธิไช
6) ถุงน้ำดีอักเสบ
7) ไส้ติ่งอักเสบ
8) ผู้ป่วยที่เป็นพยาธิไส้เดือนเวลามีไข้มักจะปวดท้องเนื่องจากพยาธิจะดิ้นเพราะมันทนต่อความร้อนไม่ได้
การวินิจฉัย
1) ตรวจพบตัวแก่ออกมาในอุจจาระหรือในสิ่งที่อาเจียน
2) ตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิ
รูปที่2 : ไข่พยาธิ และ ตัวแก่ของพยาธิไส้เดือน
การป้องกัน
1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน
เพราะจะทำให้มือสัมผัสกับไข่พยาธิ
2) ให้ถ่ายอุจจาระในห้องน้ำ
ไม่ถ่ายอุจจาระลงบนดิน
3) กำจัดผ้าอ้อมอย่างเหมาะสม
4) ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานหรือเตรียมอาหาร
5) ล้างผักและผลไม้ก่อนที่จะรับประทานหรือนำไปปรุง
การรักษา
2) Albendazole ขนาด 400 มก.รับประทานครั้งเดียว
หากไม่หาย(ยังตรวจพบไข่พยาธิ)ให้ซ้ำอีกครั้งใน 3 สัปดาห์
3) Piperazine citrateยานี้เหมาะสำหรับรายที่สงสัยว่าพยาธิจะไปอุดลำไส้หรือท่อน้ำดี
เพราะยาจะทำให้กล้ามเนื้อของพยาธิอ่อนแรงขนาดที่ใช้ 305 กรัมวันละ
4 ครั้งเป็นเวลา 2 วัน
Hookworms
โรคพยาธิปากขอหรือ Ancylostomiasis
เป็นโรคพยาธิลำไส้เล็กซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิ Necator
americanus และ Ancylostoma duodenaleทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดและเกิดอาการจะโรคโลหิตจาง
รูปที่3
: วงจรชีวิตของพยาธิปากขอ
วงจรชีวิตของพยาธิ พยาธิปากขอตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กโดยกัดติดกับเยื่อบุผนังลำไส้
ดูดเลือดและน้ำเลี้ยงจากลำไส้ พยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 6000-20000
ฟอง ไข่จะออกมากับอุจาระ[1]ถ้าอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ
ตัวอ่อนจะออกจากไข่ใน 1-2 วัน
เป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่งเรียกว่า rhabditiform larvae เจริญในดินหรืออุจาระ [2]ตัวอ่อนจะลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สองมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนระยะที่หนึ่งแต่ตัวใหญ่กว่าโดยใช้เวลา5-10
วัน และจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่สามเรียก filariform ในระยะเวลา 5-10 วัน ระยะนี้เป็นระยะติดต่อ[3]ซึ่งสามารถไชทะลุผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายคนได้ [4] เข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปหัวใจ เข้าปอด ไชออกจากปอดเข้าคอยหอย หลอดอาหาร
แล้วสู่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก[5] ตัวแก่ส่วนใหญ่จะถูกขับออกใน 1-2 ปีแต่อาจจะอยู่ได้หลายปี
การกระจายโรค
พบได้ทั่วประเทศ แต่พบมากในเขตภาคใต้เนื่องจากเดินเท้าเปล่ากรีดยางตอนเช้า
ละถ่ายอุจาระตามพื้นดิน
อาการและอาการแสดง
เมื่อพยาธิตัวอ่อนไชเข้าผิวหนังจะเกิดอาการคันและมีตุ่มแดงๆบริเวณที่พยาธิไช
ถ้าเกาอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนอง
เมื่อพยาธิไชผ่านปอดก็จะเกิดอาการไอและมีไข้
เมื่อพยาธิเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก
ผู้ป่วยจะรู้สึกจุกเสียดในท้องบริเวณลิ่มปี่ และจะดูดเลือดทำให้เกิดโลหิตจาง
หากซีดมากๆเด็กอาจจะมีปัญญาทึบ ส่วนผู้ใหญ่หากซีดมากอาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
มีอาการเหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ
การวินิจฉัย
ตรวจอุจาระพบไข่และพยาธิในอุจาระ
ควรจะตรวจอุจาระใหม่ หากเกิน 24 ชั่วโมงไข่จะกลายเป็นตัวอ่อน
รูปที่4
:ไข่พยาธิจะมีขนาด 50-70 ไมครอนเปลือกบาง
ไข่รูปร่างรีๆ
รูปที่5: ตัวอ่อนระยะ rhabditiformlarvaeและตัวแก่ของพยาธิ
การรักษา
1) การรักษาทั่วไป ถ้าผู้ป่วยซีดควรจะให้เลือดหรือธาตุเหล็ก
2) ยาฆ่าพยาธิชื่อ Pyrantel
pamoate( 125 มก./เม็ด) ขนาด 10-20
มก./กก ให้วันละครั้ง 2 วัน
การป้องกัน
1) กำจัดอุจาระให้ถูกต้อง
2) ไม่เดินเท้าเปล่า
3) ให้ยาถ่ายพยาธิ
พยาธิใบไม้ (Trematode)
Opisthorchis viverini
พยาธิใบไม้ในตับที่สำคัญมียู่ 3
ชนิดด้วยกันคือ
1) Clomorchis sinensis พบมากในประเทศจีน
ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเวียดนาม
2) Opisthorchis felineus พบมากในประเทศทางภาคพื้นยุโรปตอนกลาง ตอนใต้ และทางตะวันออกของยุโรป
รวมทั้งประเทศรัสเซีย
3) Opisthorchis viverini พบมากในประเทศไทย ลาวและกัมพพูชา
รูปที่6
: วงจรชีวิตของ Opisthorchis viverini
วงจรชีวิต
พยาธิตัวแก่จะอาศัยในท่อน้ำดีของ คน
แมวและสุนัขซึ่งเป็นโอสท์เฉพาะ พยาธิอาจจะอาศัยในถุงน้ำดี หรือท่อของตับอ่อน
ไข่จะปนออกมากับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กและออกมาพร้อมกับอุจาระ [1]ถ้าถ่ายอุจาระลงในน้ำพวกหอยซึ่งเป็นโฮสท์กลางที่หนึ่ง (first
intermediate host) [2] จะกินไข่พยาธิ
ภายในตัวหอยไข่จะฟักตัวเป็นตัวอ่อน miracidia [2a], ซึ่งจะเจริญอีกหลายขั้นตอน
(sporocysts [2b], rediae [2c], cercariae [2d])ตามลำดับ Cercariae จะออกจากหอย [3]และเข้าสู่ปลาน้ำจืดได้แกปลา แม่สะเด้ง ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยนกเขา
ปลาสูตร และปลากะมัง(second intermediate host), และเจริญเป็น
metacercariae ในเนื้อปลา [4] ซึ่งเป็นระยะติดต่อเมื่อคนหรืสัตว์ที่เป็นโฮสท์เฉพาะรับประทานปลาดิบๆสุกๆ
เช่น ก้อยปลา metacercariae จะออกจาก cyst เข้าสู่ลำไส้เล็ก [5] และเคลื่อนที่เข้า ampulla
of Vater สู่ท่อนน้ำดี และจะเจริญเป็นตัวแก่ และออกไข่ใน 3-4
สัปดาห์[6].
อาการ: ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันได้
4
แบบ
1) ไม่มีอาการเลย เรารู้โดยการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิในอุจาระ
1) ไม่มีอาการเลย เรารู้โดยการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิในอุจาระ
2) มีอาการอย่างอ่อน
ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียด รู้สึกไม่ค่อยสบาย
โดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา
3) มีอาการแรงปายกลาง
ผู้ป่วยมีการอักเสบของท่อน้ำดีร่วมด้วย อาจจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นติดต่อกันเรื่อยๆ
ผู้ป่วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน แน่บริเวณลิ่มปี่ ท้องเดิน ตับโต
4) มีอาการรุนแรง
ผู้ป่วยพวกนี้จะมรอาการรุนแรง มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ
เช่นท่อน้ำดีอักเสบเป็นๆหายๆไข้สูง เบื่ออาหาร มีอาการเหลืองปานกลาง ตับโตกดเจ็บ
ถ้ามีตับแข็งอาจจะมีม้ามโต
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประวัติถิ่นที่อยู่
ลักษณะการรับประทานอาหาร และอาการเจ็บป่วย หากภูมิลำเนามาจากอีสาน และชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆก็ให้สงสัยไว้ก่อน
รูปที่7 : ภาพแสดงตัวแก่
รูปที่8 : ภาพแสดงตัวแก่ย้อมสี
การตรวจอุจาระก็จะตรวจพบไข่ของพยาธิ
หากมีโรคแทรกซ้อนที่ตับอาจจะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเข้าช่องท้องหรือการฉีดสีเข้าท่อน้ำดี
รูปที่9 : ภาพแสดงไข่ของพยาธิที่ตรวจจากอุจาระ
รูปที่10 : ระยะ cercaria ที่ออกจากหอย
รูปที่11 :metacercaria ที่อยู่ในเนื้อปลา
การรักษา
ใช้ยา Praziquantel ขนาด 25 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งเป็นเวลาหนึ่งวัน
การป้องกัน
1) ไม่รับประทานปลาดิบๆหรือสุกๆดิบๆ
2) ทำลายหอยที่เป็นโฮสท์กึ่งกลาง
3) ถ่ายอุจาระให้ใช้ส้วม ไม่ถ่ายเรี่ยราดหรือถ่ายลงน้ำ
Schistosoma haematobium เกิดจากพยาธิใบไม้
ชนิด Schistosoma ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดที่พบในคน ได้แก่ Schistosoma
haematobium, Schistosoma mansoni และ Schistosoma
japonicum
Schistosomiasis เป็นโรคที่พบได้ ทั่วไป ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรชาวโลกติดเชื้อ พยาธิใบไม้ชนิดนี้ได้มีผู้ตรวจพบพยาธิใบไม้ ชนิดนี้จากศพมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ
ชนิด S. haematobium พบได้มาก บริเวณลุ่ม แม่น้ำไนล์ ทวีปอัฟริกา ชนิด S. masoni พบบริเวณ ทะเลสาบ ในที่ราบสูงของทวีปอัฟริกา เช่น อียิปต์ เป็นต้น และ S. japonicum พบว่ามี แหล่งอยู่ในทวีป เอเชีย เช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
ในประเทศไทยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 ในชิ้นเนื้อ มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ พบไข่ ของ S.japonicum เป็น จำนวนมาก อยู่ชั้นใต้ เยื่อบุผนัง ลำไส้ใหญ่เคยมีผู้พบ Schistosomiasis ระบาดอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่อำเภอฉวาง ทุ่งสง และทุ่งใหญ่ ต่อมา ได้พบที่ จังหวัดอื่นๆ อีก เช่นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ พบที่ พิษณุโลก และพิจิตร ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ พบที่ อุบลราชธานี เป็นต้น
Schistosomiasis เป็นโรคที่พบได้ ทั่วไป ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรชาวโลกติดเชื้อ พยาธิใบไม้ชนิดนี้ได้มีผู้ตรวจพบพยาธิใบไม้ ชนิดนี้จากศพมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ
ชนิด S. haematobium พบได้มาก บริเวณลุ่ม แม่น้ำไนล์ ทวีปอัฟริกา ชนิด S. masoni พบบริเวณ ทะเลสาบ ในที่ราบสูงของทวีปอัฟริกา เช่น อียิปต์ เป็นต้น และ S. japonicum พบว่ามี แหล่งอยู่ในทวีป เอเชีย เช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
ในประเทศไทยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 ในชิ้นเนื้อ มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ พบไข่ ของ S.japonicum เป็น จำนวนมาก อยู่ชั้นใต้ เยื่อบุผนัง ลำไส้ใหญ่เคยมีผู้พบ Schistosomiasis ระบาดอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่อำเภอฉวาง ทุ่งสง และทุ่งใหญ่ ต่อมา ได้พบที่ จังหวัดอื่นๆ อีก เช่นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ พบที่ พิษณุโลก และพิจิตร ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ พบที่ อุบลราชธานี เป็นต้น
รูปที่12 : วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ในเลือด
วงจรชีวิต
ตัวแก่อาศัยอยู่ในเส้นเลือดของลำไส้หรือทางเดินปัสสวะ
ปล่อยไข่ พร้อมตัวอ่อน อยู่ภายในออกมาจากเส้นเลือดที่ผนังของลำไส้หรือทางเดินปัสสวะ
ไข่ปะปนออกมากับอุจจาระ เมื่ออยู่ในน้ำตัวอ่อน ระยะ miracidia
ฟัก ออกจากไข่และว่ายเข้าไปอยู่ในหอย(snail) ภายในตัวหอย
มันจะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน ระยะต่างๆ จนได้ ตัวอ่อนระยะ cercariae ตัวอ่อนระยะนี้จะว่ายไปตาม น้ำ และไช เข้าสู่ผิวหนัง ของ definitive
host เช่น คน เป็นต้น ตัวอ่อนพวกนี้จะไช
ไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเข้าสู่เส้นเลือด และถูกพัดพาไปที่ปอด จากนั้นไปที่ตับและเจริญเติบโตเป็นตัวแก่เพศผู้
และเพศเมียที่เส้นเลือดภายในตับนี้
เพื่อไปยังบริเวณเส้นเลือดต่างๆตามแต่ชนิดของมันต่อไป ครบวงจรชีวิต
การติดเชื้อ
เกิดขึ้นจากตัวอ่อน ระยะ cercariae
ไชทะลุเข้าทางผิวหนัง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคัน บริเวณดังกล่าว
เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ ที่บริเวณ intrahepatic
portal vein ตัวแก่มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวเมียวางไข่
บริเวณหลอดเลือดดำ ในที่ต่างๆของช่องท้อง เช่น ชนิด S.mansoni พบบริเวณ hemorrhoidal plexus. ส่วน S.
japonicum พบบริเวณ mesenteric plexus และ
S. haematobium พบบริเวณ urinary plexus ไข่ของ พยาธิ ชนิดนี้จะติดอยู่ในหลอดเลือดดำขนาดเล็ก(venule)ใต้เยื่อบุผิวของลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะ
อาการทางคลีนิค
Acute Schistosomiasis :-อาการสำคัญของผู้ป่วย
คือ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ปวดเจ็บ บริเวณตับ มีไข้ เป็นๆ หายๆ เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย และผอมลง หรือ มีอาการเป็น ลมพิษ มีผื่น ตามร่างกายหรือเป็นหืด (asthma)
เกือบทุกราย มีประวัติอดีต ว่าเคย ถ่ายอุจจาระ เป็นมูกเลือด
การตรวจร่างกาย ไม่พบ สิ่งผิดปกติสำคัญ นอกจากพบตับโต ม้ามโต และ ต่อมน้ำเหลืองโต ในเลือด
มี eosinophils สูงเล็กน้อย (12-14%)
พยาธิสภาพ
โดยทั่วไป มีลักษณะเป็น แบบ granuloma
มาล้อมรอบไข่มี เซลล์อักเสบ ชนิด eosinophils และ
neutrophils สูง นอกจากนั้น อาจพบ plasma cells,
lymphocytes และ macrophages หรือ giant
cells ในบริเวณ granuloma บางครั้ง การอักเสบ
ทำให้ลักษณะพยาธิสภาพ ที่มาหุ้มรอบไข่เป็น แบบ ปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า Splendore-Haeppli
phenomenon ไข่ที่ฝังอยู่ใต้ เยื่อบุผนัง ลำไส้ มักจะ ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียงทำให้เกิดการอักเสบและมี
fibrosis พร้อมกับสารแคลเซียมมาพอกรอบๆไข่เหล่านี้
โดยทั่วไป ตัวแก่ของพยาธิ
ชนิดนี้มักไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยและไม่มี อาการเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ถ้าหากตัวแก่ตาย
เช่น ถูกฆ่าด้วยยา จะทำให้ เกิดเป็นก้อนลอยไปในกระแสโลหิต(verminous
emboli) ไปที่ตับหรือปอด ทำให้เกิดปฏิกิริยา
การอักเสบอย่างรุนแรงในอวัยวะดังกล่าวได้
Chronic schistosomiasis ได้แก่ Intestinal
schistosomiasis เกิดพยาธิสภาพในลำไส้ โดยเฉพาะ ชนิด S.mansoni
และ S. japonicumทำให้เกิดจุดเลือดออกหรือก้อนเลือด
พร้อมกับเกิดเป็น granuloma ในชั้นใต้ เยื่อบุผนัง ลำไส้
Bilharziomas: เป็นพยาธิสภาพที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน
บริเวณ serosa ของลำไส้ หรือ mesentery ก้อน เหล่านี้ ประกอบด้วย fibrous tissue และ
เซลล์อักเสบ พร้อมกับ ไข่เป็น จำนวนมาก ปะปนใ นก้อน Bilharziomas
Hepatosplenic schistosomiasis: ไข่ของพยาธิใบไม้
บางครั้งถูกกระแสโลหิตพัดพามาสู่ตับ ทำให้เกิดเป็น granuloma ในตับ เมื่อมองด้วยตาเปล่าพบเยื่อหุ้มตับหนาและมีลักษณะนูนเป็นก้อนทั่วไป
หน้าตัดพบเป็นหย่อมของ fibrosis และมีลักษณะของเลือดคั่ง(nutmeg)
พยาธิสภาพทางกล้องจุลทรรศน์ พบไข่บริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแถว portal
triad พร้อมกับมีเยื่อพังผืดหนาล้อมรอบ
พยาธิสภาพดังกล่าวทำให้เกิดความดันสูงภายในหลอดเลือดดำพอทัล (portal
hypertension) ทำให้ม้ามโต พบมีการคั่งของเลือดหรือพบก้อนอักเสบ
แต่มักไม่พบไข่ในม้าม นอกจากนี้พยาธิสภาพแบบ glomerulonephritis ของไตอาจพบร่วมกับ hepatosplenic schistosomiasis ได้
เข้าใจว่าเกิดจาก immune complex นอกจากนั้น
อาจพบไข่พยาธิพร้อมพยาธิสภาพ granuloma ได้ที่ ปอด
ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มลำไส้ และที่เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาจพบไข่พยาธิในตับแข็งและเนื้องอกร้ายของตับหรือลำไส้ใหญ่ร่วมด้วยได้
เชื่อว่าไข่พยาธิไม่น่าจะเป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะเหล่านี้
Urogenital schistosomiasis: เกิดจากไข่ของ
S.haematobium ทำให้เกิดพยาธิสภาพต่อไต ท่อปัสสวะ
กระเพาะปัสสาวะ และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศ
ประเทศไทยไม่เคยมีรายงานการระบาดของเชื้อชนิดนี้
แต่มีรายงานพบทำให้เกิดโรคในคนงานไทยหนึ่งราย
กลับจากการทำงานเหมืองแร่ที่ประเทศแซมเบีย ทวีปอัฟริกา
มาด้วยอาการปัสสวะปวดและปัสสวะเป็นเลือดมาหลายเดือน ตรวจปัสสวะพบไข่ S.haematobium
เป็นจำนวนมาก พบพยาธิสภาพที่กะเพาะปัสสวะ
เยื่อบุผนังของกะเพาะปัสสวะมีลักษณะเป็น sessile hyperemic polypoid
patches ที่บริเวณ trigone พยาธิสภาพพบการอักเสบแบบ
granulomatous(Foreign body type) พร้อมกับมีสารแคลเซี่ยมมาพอก
พร้อมกับพบไข่ของ S.haematobium ฝังอยู่ในใช้ในบริเวณที่อักเสบ
เซลล์อักเสบส่วนมากเป็นชนิด plasma cell
S.haematobium อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ
หรือ เกิด fibrosis ต่อเยื่อบุผนังทางเดินปัสสาวะทำให้การไหลของปัสสวะไม่สะดวก
ปัสสวะปวดหรือปัสสวะเป็นเลือดได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อบักเตรีชนิดต่างๆ
เช่น เกิด pyelonephritis และ cystitis เป็นต้น
นอกจากนี้ได้มีรายงานถึงความสัมพันธ์ของ
schistosomiasis
กับมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะพบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในประเทศอียิปต์พบร่วมกับ
schistosomiasis ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นเเบบ
squamous cell carcinoma 40 เปอร์เซนต์เป็นแบบ transitional
cell carcinoma และ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นแบบ adenocarcinoma
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์
สามารถตรวจพบไข่ของพยาธิชนิดนี้ได้ เช่น prostate gland,
epididymis, vas deferens, ovary, fallopian tubes, uterus และ vagina
เป็นต้น
Cardiopulmonary schistosomiasis: สืบเนื่องจากการเกิด
hepatosplenic schistosomiasis ไข่ที่อยู่ในตับอาจหลุดเข้าสู่portal
system และถูกพัดพาไปที่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบชนิด granulomatous
inflammation ในปอด โดยพบไข่อยู่ภายในหลอดเลือดของปอดทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดในปอด
(schistosomal pulmonary arteritis) และเป็นผลทำให้ความดันเลือดในปอดสูงขึ้น
ผู้ป่วยเกิดภาวะ cor pulmonale ได้
Cerebrospinal schistosomiasis: ไข่ของ Schistosoma
ทั้ง 3 ชนิดสามารถพบได้ในสมองและไขสันหลังได้
เข้าใจว่าผ่านทาง venous plexus หรือทาง A-V shunt ในร่างกาย เพื่อเข้าสู่กระแสเลือดแดงและไปที่สมอง ทำให้เกิดพยาธิสภาพชนิด granulomatous
inflammation ในสมองและเยื่อหุ้มสมอง ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด S.
japonicum ผู้ป่วยเกิดภาวะชักแบบ Jacksonian epilepsy
การวินิจฉัยโรค : โดยการตรวจพบไข่พยาธิ S.mansoni และS.japonicum
ในอุจจาระของผู้ป่วย หรือในชิ้นเนื้อลำไส้ใหญ่บริเวณ rectum
(rectal biopsy) ส่วนมากวินิจฉัยได้จากการตรวจด้วยวิธีหลังนี้
สำหรับไข่ S.haematobium ตรวจจากปัสสวะ
หรือโดยการตรวจทางปฎิกิริยาน้ำเหลือง เช่น indirect immunofluorescence,
circumoval precipitin test(COP), radioimmunoassay, และ enzyme-linked
immunosorbent assay เป็นต้น
วิธีนี้เหมาะสำหรับทางวิทยาการระบาดของโรค
พยาธิตัวตืด (Cestode)
Taenia solium & Taenia saginata
การกระจายตัวของโรค
พบได้ทั่วโลก พบมากในผู้ที่ชอบรับประทานหมูหรือเนื้อวัวสุกๆดิบๆ
ในประเทศไทยพบมากแถบอีสานเนื่องจากรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่นลาบ น้ำตก หมู-เนื้อ
แหนมเป็นต้น
รูปที่13
: วงจรชีวิตของพยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว
วงจรชีวิต
Cysticercosis สามารถเกิดได้ทั้งตน หมูและวัวโดยตัวอ่อนจะฝังตัวตามอวัยวะต่างๆจากพยาธิชื่อ Taenia
solium. คนเราจะได้รับเชื้อนี้โดยการรับประทานไข่พยาธิที่ออกมากับอุจาระและปนเปื้อนอาหารหรือน้ำที่เรารับประทาน [1].
เนื้อหมูหรือเนื้อวัวและคนเมื่อได้รับประทานไข่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ [2].
นอกจากจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนคนยังได้รับไข่พยาธิจากตัวแก่ที่อยู่ในลำไส้โดยคนจะขย้อนตัวแก่เข้าในกระเพาะ
ทำให้มีไข่ออกจากตัวแก่ ไข่จะแตกตัวเป็นตัวอ่อนระยะ oncospheresซึ่งจะเกาะที่ผนังลำไส้ [3],และไชทะลุผนังลำไส้ไปยัง
กล้ามเนื้อ สมอง ตับ และเนื้อเยื่ออื่นกลายเป็นตัวอ่อนในถุงน้ำเรียก cysticerci. อีกวงจรหนึ่งของพยาธิคือคนรับประทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่มีพยาธิในรูป cysticeci[4]. cyst จะออกจากตัวอ่อนและเกาะกับผนังลำไส้โดยอวัยวะที่ชื่อว่า scolex [5].
พยาธิจะโตเป็นตัวแก่ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ถึง
7 m และปล้องประมาณ 1000 proglottids, แต่ละปล้องจะมีไข่ประมาณ
50,000 ฟอง และอยู่ในลำไส้เล็กได้หลายปี [6].
การติดต่อ
1) จากการดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีไข่ของพยาธิ
เช่นผัก ผลไม้ เป็นต้น
2) จากการรับประทานตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในกล้ามเนื้อของหมูหรือวัว
3) จากการที่ขย้อนปล้องแก่เข้ากระเพาะ
ทำให้เหมือนเรากินไข่พยาธิ
อาการและอาการแสดง
พยาธิตัวแก่ในลำไส้จะแย่งอาหารทำให้ผู้ที่มีพยาธินี้จะรับประทานอาหารเก่ง
หิวบ่อยแต่ผอมลง น้ำหนักลด นอกจากนั้นอาจจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด
คลื่นไส้อาเจียนหรืออุจาระบ่อยเนื่องจากเกิดจากการระคายเคืองต่อลำไส้
การวินิจฉัย
1) ตรวจพบตุ่มใต้ผิวหนัง
เมื่อตัดออกไปตรวจจะพบถุงน้ำและพยาธิตัวอ่อน
2) ภาพรังสีของกล้ามเนื้อและกะโหลกจะพบหินปูนเป็นจุดๆ
3) การตรวจ x-ray
computer จะพบถุงน้ำและตัวอ่อน
4) การตรวจอุจาระอาจจะพบปล้องและไข่ของพยาธิ
แต่มักจะพบหลังจากการได้รับไข่พยาธิไปแล้ว 3 เดือน
Cyst
พยาธิตืดวัว Cyst
พยาธิตืดหมู
รูปที่14
: ภาพแสดง cyst ตืดวัวและตืดหมูซึ่งไม่แตกต่างกัน
หัวของตืดวัว มี 4 sucker หัวของตืดหมูมี4suckerและ1hooker
รูปที่16 : ภาพแสดงส่วนหัวของพยาธิตัวแก่
ตัวแก่พยาธิตืดวัว
ตัวแก่พยาธิตืดหมู
รูปที่17
: ภาพแสดงความยาวพยาธิตัวแก่
การรักษา
1) พยาธิที่ฝังตัวในสมองให้ใช้ Praziquantel
ขนาด 50 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
2) ให้ยา Albendazole ให้ขนาด 15 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
3) หากเป็นพยาธิในลำไส้ให้ยา Niclosamide ขนาด 0.5 กรัม ขนาดที่ใช้ให้ 4 เม็ดเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน และให้ยาระบายร่วมด้วย
ยาระบายจะให้หลังจากให้ยาฆ่าพยาธิแล้ว
การป้องกัน
1) ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
2) ไม่รับประทานหมูที่มีลักษณะเหมือนจะติดเชื้อพยาธิ
3) ล้างมือหลังออกจากห้องน้ำ
ล้างมือก่อนปรุงและรับประทานอาหาร
4) ล้างผักและอาหารสดให้สะอาด
5) ดื่มน้ำต้มสุก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น