วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Protozoa

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว
          โรคท้องร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาได้ เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรค อุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้อไกอาเดีย (Giardia) และเชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia)

Giardia  lamblia

รูปที่1 : สัณฐานวิทยา
เป็นโปรโตซัวในกลุ่มแฟลกเจลเลต ทำให้เกิดโรคท้องร่วงเรื้อรัง (giardiosis, giardiasis) พบได้ทั่วโรคโดยเฉพาะในเขตร้อน มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เชื้อชนิดนี้มีความจำเพาะต่อโฮสต์สูง
 สรีรวิทยา : Giardia  lamblia มีทั้งระยะ trophozoite และ  cyst                     Trophozoite  มีรูปร่างกลมมนทางปลายหน้าและแหลมทางปลาย (pear-shape) ด้านบนนูน ส่วน  ด้านล่างเว้า ขนาด  trophozoite ยาว (9-21)* (5-15) Um หนา 2-4 ไมครอน มี 2 nucleiนิวเคลียสรูปรีมี karyosome อยู่กลางประกอบด้วย chromatin หนาเข้มก้อนnucleoplasm ไม่มี chromatin ที่ nuclear membrane มีหนวด 4 คู่ อยู่ทางด้านล่างของลำตัว และมี 4 คู่ ของ  blepharoplasts  เป็นจุดเริ่มต้นของหนวด  4 คู่ มี axonemes หนา มี parabasal bodies  2 อัน  ในอุจจาระร่วงจะพบแต่ระยะ trophozoite                                             
Cysts  รูปคล้ายไข่ขนาด  (8-12)*(7-10) m cytoplasm  เป็นเม็ดละเอียด เมื่อเจริญเต็มที่ จะมี 4 nuclei


รูปที่2 : Giardia lamblia cyst, Trichrome stain

G. lamalia  มีรูปร่าง 2 แบบ คือ โทรโฟซอยท์ และ ซีสต์
1.ระยะโทรโฟซอยท์:อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กส่วนต้นโดยเฉพาะบริเวณ duodenum 
และ jejunum ขนาดของตัวแก่ยาว 10 – 1  ไมครอน ทางด้านหน้าเรียก “microns” กว้าง 5 ไมครอนและหนา 2-4 ทางด้านหน้า “anterior” คล้ายเเรคเก็ตเทนนิสด้านล่างหน้าจะเป็นแผ่นบุ่มเข้าไปมีลักษณะคล้ายจานกลมๆ
2.ระยะซีสต์ : ซีสต์มีลักษณะเป็นรูปไข่ (ovoidal)ขนาดยาว 8-12 ไมครอน กว้าง 6 – 10 ไมครอน ขอบของชีสต์เรียบหนามี 4 นิวเคลียสอยู่คอนมาทางด้านหน้าของซีสต์ตรงกึ่งกลางของซีสต์จะเห็น axostyleหรือ axonmeเป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์มีความทนทานต่อสภาแวดล้อมได้ดี
นิเวศวิทยา : พบในอุจจาระ  มี 4 นิวเคลียสอยู่ค่อนมาทางด้านหน้า (anterior) ของซีสต์ ตรงกึ่งกลางของยีสต์จะเห็น axostyleหรือ axonemeหรือ median axoeme  หรือ axial filament เป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์  ซีตส์ระยะ ๔ นิวเคลียสเป็นระยะติดต่อซึ่งมีนาความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีมาก ในน้ำที่อุณหภูมิ 8 ° C จะมีชีวิตอยู่นาน 2 เดือน อุณหภูมิที่21° C จะอยู่ได้นาน 1 เดือน และที่อุณหภูมิ 37° C จะอยู่ได้นาน 4วัน อย่างไรก็ตาม การลวกผักดิบหรืออาหารด้วยน้ำเดือดหรือแช่ให้แข็งด้วยความเย็น จะมีผลต่อการแตกตัวของซีสต์ (excystation) คือทำให้โทรโฟซอยท์ไม่สามารถออกมาจากซีสต์ได้ถึง99%
ลักษณะการก่อโรค
เชื้อก่อโรค : Giardia lamblia (G. intestinalis) ซึ่งเป็นโปรโตซัวที่มีหางยาว (flagella) ช่วยในการเคลื่อนไหว
ลักษณะโรค : เป็นการติดเชื้อโปรโตซัวที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ปกติมักจะไม่แสดงอาการ แต่อาจมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดอาการที่ลำไส้ เช่น ท้องเสียเรื้อรัง  อุจจาระมีไขมันมากผิดปกติ  ปวดเกร็งท้อง  จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ อุจจาระมีสีซีดและเป็นมัน  อ่อนเพลียและน้ำหนักลด และอาจเกิดความผิดปกติของขบวนการดูดซึมไขมัน โดยปรกติจะไม่มีการทำลายเยื่อบุลำไส้  แต่ในบางครั้งโปรโตซัวระยะ trophozoite อาจมีการลุกล้ำเข้าไปในท่อน้ำดีหรือท่อตับอ่อน และทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเยื่อบุผนังลำไส้เล็กส่วนต้นและส่วนกลางซึ่งพบได้ในรายที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง การวินิจฉัยโรคทำได้โดยการตรวจหาเชื้อระยะ cyst หรือระยะ trophozoiteในอุจจาระ (ต้องทำการตรวจซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนที่จะสรุปผลว่าเป็นลบ)หรือตรวจหา trophozoite โดยการเจาะเอาของเหลวในลำไส้เล็กส่วนต้น หรือจากการตัดชิ้นเนื้อที่เยื่อบุผนังลำไส้เล็กมาตรวจ  ซึ่งการตรวจวิธีหลังสุดนี้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าในกรณีที่ผลของการตรวจอุจจาระไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก การติดเชื้อ Giardia นี้  โดยปรกติมักจะไม่แสดงอาการ  ดังนั้น การพบเชื้อ G. lamblia ในอุจจาระหรือลำไส้ จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเชื้อ Giarrdia จะเป็นสาเหตุของการป่วยเสมอไป การทดลองเพื่อปรับปรุงวิธีการตรวจหาแอนติเจนในอุจจาระและแอนติบอดี (ชนิด humoral) กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
วิธีการแพร่เชื้อ : ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งโดยการกินเอา cystในอุจจาระของผู้ติดเชื้อที่ปนเปื้อนติดมือ ซึ่งพบได้บ่อยในสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็ก การใส่คลอรีนที่มีความเข้มข้นลงในน้ำ ยังไม่สามารถทำลายเชื้อในระยะ cyst ได้  โดยเฉพาะน้ำในแม่น้ำ ลำธารและทะเลสาบ ที่เอื้ออำนวยต่อการปนเปื้อนของเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ที่ติดเชื้อมักพบว่าเป็นแหล่งของการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะฟักตัว : 5-25 วัน หรือนานกว่า เฉลี่ยประมาณ 7-10 วัน  ผู้ติดเชื้อที่ไม่ปรากฎอาการ (ซึ่งพบได้ทั่วไป) อาจพบว่าสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการ  การรระบาดเฉพาะที่ยังอาจเกิดจากการกินเอา cyst ในอุจจาระที่ปนเปื้อนมากับน้ำ และพบไม่บ่อยที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
ระยะติดต่อของโรค : ตลอดช่วงระยะเวลาที่มีการติดเชื้อความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ อัตราการเป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการพบได้สูง  การติดเชื้อบ่อย ๆ  มักพบว่าหายเอง  การศึกษาการเกิดโรคจากเชื้อ lamblia ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอะไรเป็นปัจจัยในตัว host ที่สัมพันธ์กับความต้านทานโรค
การเกิดโรค : พบได้ทั่วโลก เด็กมักมีการติดเชื้อมากกว่าผู้ใหญ่  อัตราความชุกของโรคจะสูงในบริเวณที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี และในสถานเลี้ยงเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย  อัตราการตรวจพบเชื้อ Giardia ในอุจจาระมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่  อาจพบอยู่ในช่วงระหว่าง1%ถึง30% ขึ้นอยู่กับสภาพชุมชนและกลุ่มอายุที่สำรวจในสหรัฐอเมริกา 
การระบาดของโรคที่ติดต่อผ่านทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดในชุมชนที่อยู่ตามบริเวณเทือกเขา และมีการดื่มน้ำจากแม่น้ำหรือลำธาร  โดยปราศจากระบบการกรอง  ในประเทศเขตอบอุ่น และประเทศในเขตร้อนพบว่ามีความชุกของโรค โดยที่การติดเชื้อพบได้บ่อยในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มน้ำที่ไม่สะอาดเพียงพอ
แหล่งรังโรค : คนเป็นแหล่งรังโรค และบางทีพบในสัตว์พวกตัวบีเวอร์ สัตว์ป่า รวมทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในบ้าน  ระยะ cyst ที่อยู่ในคนสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไปยังคนได้มากกว่าระยะ cyst ที่อยู่ในสัตว์


รูปที่3 : วงจรชีวิตของ Giardia  lamblia
วงจรชีวิต
1. การติดต่อเข้าสู่คนโดยการกินระยะซีสต์ที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม สัตว์ที่มีรายงานการตรวจพบ G. lamblia ได้แก่ สุนัข แมว โค กระบือ ซึ่งอาจถือเป็นโฮสต์กักตุนได้
2.ซีสต์จะแบ่งตัวภายในได้ปรสิตระยะโทรโฟซอยต์สองตัวและจะออกจากซีสต์ไปเกาะที่เซลล์บุลำไส้เล็กส่วนต้นและมีการแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ
3. ระยะโทรโฟซอยต์มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ผ่าซีก ด้านหลังโค้งนูน ด้านหน้าโค้งเว้า ตอนบนด้านหน้ามีแผ่นยึดเกาะใช้ยึดเกาะกับเยื่อบุลำไส้เล็ก มีนิวเคลียส 2 อันเรียงตัวซ้ายขวาตรงแผ่นยึดเกาะ มีแฟลกเจลเลต 4 คู่ บริเวณตรงกลางพบแท่งลักษณะโค้งสั้นๆ 2 อันวางขวางลำตัว เรียกว่า มีเดียนบอดี (median body)
4. โทรโฟซอยต์ใช้แผ่นยึดเกาะเกาะติดกับลำไส้ หลังจากเพิ่มจำนวนไประยะหนึ่งแล้ว จะแปรสภาพเป็นระยะซีสต์ ขณะเคลื่อนมาที่ลำไส้ใหญ่
5. ซีสต์มีลักษณะกลมรี มี 4 นิวเคลียสซึ่งเป็นระยะติดต่อ ภายในซีสต์จะเห็นแอกโซนีมและมีเดียนบอดีได้ การติดต่อมักปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำดื่มได้ นอกจากนี้ยังมีการได้รับซีสต์จากอุจจาระเข้าไปทางปากโดยตรง ซึ่งมีรายงานว่าชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศมีโอกาสติดเชื้อนี้สูง
อาการและพยาธิสภาพ : ผู้ได้รับเชื้อส่วนหนึ่งมักไม่มีอาการ แต่ผู้มีอาการมักมีอาการหลังได้รับเชื้อมาประมาณ 2 สัปดาห์จะเริ่มแสดงอาการให้เห็น โดยเริ่มจากมีอุจจาระร่วงเล็กน้อยจนถึงอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาการที่พบร่วมได้ คือ มีไข้ ปวดบริเวณลิ้นปี่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องอืด อุจจาระเป็นมันมีฟองสีขาวขุ่น เนื่องจากมีไขมัน (steatorrhea)  
    สาเหตุเกิดจากการมีเชื้ออยู่ในลำไส้ทำให้ขัดขวางการดูดซึมอาหารโดยเฉพาะไขมัน อาการของโรคมักรุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
ผู้มีภาวะทุพโภชนาการ
การวินิจฉัย : ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง สามารถตรวจหาระยะโทรโฟซอยต์ในอุจจาระได้ ควรกระทำใน 20-30 นาที จะสามารถสังเกตการเคลื่อนที่ขณะปรสิตยังมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ ปรสิตมักพลิกตัวคว่ำหงายสลับกันไปมาระหว่างเคลื่อนที่ (swaying movement)ส่วนวิธีการที่ทำกันโดยทั่วไปคือการตรวจหาระยะซีสต์ในอุจจาระ แต่เนื่องจากซีสต์ออกมาในอุจจาระไม่สม่ำเสมอทุกวัน ดังนั้นการตรวจหาอุจจาระซ้ำ 2-3 ครั้งจะช่วยให้โอกาสตรวจพบซีสต์เพิ่มขึ้น
การรักษา : ยาที่อาจลองที่บ้านก่อนได้แก่ ยาลดลมต่าง ๆ โดยขอเน้นว่าต้องไม่มีอาการเตือนร้ายแรงนำครับ ถ้ามีควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว  
ยากลุ่ม Bismuth subsalicylate (เช่น Pepto-Bismol) อาจลดกลิ่นที่เกิดจาก hydrogen sulfide,a sulfur-containing compound.
รักษาตามโรค เช่น   ให้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) ในผู้ป่วยโรค bacterial overgrowth  งดนมในผู้ป่วยlactose - indigest และอย่าลืมกินแคลเซียมเสริมด้วย
การดูแลรักษาโดยแพทย์
แรกสุด คือการซักประวัติ และ ตรวจร่างกาย                                          - ในรายที่มีอาการเตือนโรคร้ายแรง "alarm" symptoms เช่น ท้องเสียไม่หายน้ำหนักลด, ปวดท้องมีภาวะซีดโลหิตจางมีเลือดในอุจจาระเบื่ออาหาร และ ผอมลง,  มีไข้,  หรือมีอาเจียน                                                                   ควรค้นหาสาเหตุอย่างละเอียดเพิ่มเติม ได้แก่ตรวจอุจจาระหาพยาธิ Giardia lamblia และ  ตรวจหาไขมัน (ภาวะ steatorrhea)             
การป้องกัน
1)มาตรการป้องกัน : ให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก ในเรื่องเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล และความสำคัญของการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังการถ่ายอุจจาระ ให้มีการกลั่นกรองคุณภาพของแหล่งน้ำใช้สาธารณะ  ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำใช้สาธารณะ กำจัดอุจจาระด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะ การต้มน้ำให้เดือดก่อนนำมาใช้เป็นวิธีที่ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ การบำบัดด้วยสารไฮโปคลอไรด์ หรือไอโอดีน0.1-0.2 มล.(2-4 หยด  หรือใส่ทิงเจอรร์ไอโอดีน 2 เปอร์เซ็นต์ 0.5 มล  ต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 20 นาที หรือนานกว่านั้นถ้าน้ำเย็นหรือขุ่น (ดูรายละเอียดของการบำบัดน้ำให้สะอาดได้ในเรื่องของบิดมีตัว)
2) การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม รายงานผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบในท้องถิ่น
การแยกผู้ป่วย  :  โดยการระวังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
การทำลายเชื้อ  :  มีการทำลายเชื้อในอุจจาระและสิ่งของที่ปนเปื้อน ในชุมชนที่มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน อุจจาระสามารถถูกกำจัดโดยตรงลงสู่ท่อระบายโดยไม่ต้องฆ่าเชื้อก่อน
การกักกัน :  ไม่จำเป็น
การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้สัมผัส : ไม่มี
การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค  :  โดยการตรวจอุจจาระผู้สัมผัสในครัวเรือนและผู้อื่นที่สงสัยโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการ  รวมทั้งตรวจหาเชื้อในสิ่งแวดล้อมที่อาจมีการปนเปื้อน
การรักษาเฉพาะ :  ยาที่แนะนำให้ใช้ คือ metronidazole และ tinidazole (ในสหรัฐอเมริกายังไม่อนุญาตให้ใช้) ยาที่สามารถเลือกใช้เป็นอันดับรอง คือ quinacrine  ส่วน furazolidone เหมาะสำหรับใช้ในเด็กทารกและเด็กเล็ก  การกลับเป็นโรคใหม่อาจพบได้ในยาบางชนิด
3) มาตรการเมื่อเกิดการระบาด : การสอบสวนผู้ป่วยทางระบาดวิทยาเพื่อหาแหล่งแพร่โรค และวิธีการติดต่อ เช่น ในน้ำ หรือในบริเวณสถานรับเลี้ยงเด็ก เพื่อให้ได้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม การควบคุมการติดต่อจากบุคคลหนี่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ต้องเน้นความสะอาดของสุขอนามัยส่วนบุคคล และการกำจัดอุจจาระที่ถูกสุขลักษณะ


Entamoeba histolytica
   โรคบิดมีตัวเกิดจากเชื้ออะมีบา (Amoebic dysentery หรือ Amebic dysentery หรือ Amoebiasis หรือAmebiasis) เป็นโรคบิดชนิดหนึ่งจากลำไส้ติดเชื้อบิดอะมีบา ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่เป็นปรสิตมีชื่อว่า Entamoeba histolytica ก่อโรคบิดมีตัว (Amebiasis)
การระบาดวิทยา
       พบบ่อยในประเทศเขตร้อนที่ยังมีการสาธารณสุขไม่ดีเพียงพอ หรือในแหล่งชุมชนที่อาศัยอยู่อย่างแออัด เช่น ในค่ายผู้อพยพ หรือในคนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทั่วโลกพบโรคบิดมีตัวได้ประมาณ 10% ของประชากร โดยพบสูงประมาณ 50% ของประชากรในบางท้องถิ่นของอเมริกากลาง แอฟริกา และเอเชียและในบางท้องถิ่น เช่น ในบางท้องถิ่นของบราซิล พบผู้เป็นพาหะโรคนี้ได้ประมาณ 11% ของประชากร
การติดต่อ :
       โรคบิดสามารถติดต่อได้โดยการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อบิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดอาการโดยโรคบิดไม่มีตัวจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน ส่วนโรคบิดมีตัวจะมีระยะฟักตัวนานกว่าประมาณ2-4 สัปดาห์ เชื้อบิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้วจะเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วที่ลำไส้ใหญ่ แทรกตัวทำลายเนื้อเยื่อและผนังลำไส้ใหญ่แล้วแพร่กระจายเชื้อออกมากับอุจจาระ ไปปนเปื้อนกับอาหารและน้ำด้วยมือที่ไม่สะอาด หรือโดยการนำอุจจาระมารดผัก แล้วแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

    
           trophozoite กินเม็ดเลือดแดง       cyst ที่ตรวจพบในอุจาระ

รูปที่4 : รูปร่างของ Entamoeba histolytica
รูปที่5 : ส่วนประกอบของ Entamoeba histolytica
สรีรวิทยา                                                                 
Trophozoites มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีขนาดที่แตกต่างกันมาก คือตั้งแต่12-50ไมโครเมตร  มีนิวเคลียสหนึ่งอันมีลักษณะเป็นแบบล้อเกวียน (cart–wheel type) โดยมี karyozome ขนาดเล็ก อยู่ตรงกลาง และมีก้อนโครมาตินขนาดเล็กเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบที่ขอบในของเยื่อ                 
Cysts มีรูปร่างกลมหรือรี ขนาด 10-20 ไมโครเมตร มีผนังบางใส ซึ่งมักแยกไม่ชัดเจนจากcytoplasm  อาจพบว่ามี 1 หรือ 4 นิวเคลียส กรณีที่เป็นcysts ที่เพิ่งสร้างอาจพบก้อนไกลโคเจน และ chromatoidal bar ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งใส ปลายทั้งสองข้างมน

รูปที่6 : วงจรชีวิตของ  Entamoeba histolytica
วงจรชีวิต
    Cysts จะขับออกทางอุจาระ [1.] การติดเชื้อ Entamoeba histolytica โดยการกินซีสตัวแก่ mature cysts [2.]ในอาหาร น้ำ หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้ เชื้อจะกลายเป็นตัวอ่อน [3.] ในลำไส้และกลายเป็นระยะ trophozoites [4.] ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ใหญ่  ตัวเชื้อระยะ trophozoites จะแบ่งตัวโดย binary fission และทำให้เกิด cysts [5.] ซึ่งจะบับออกทางอุจาระ[1.]  เนื่องจากระยะ cyst จะมีเปลือกหุ้มทำให้มันทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสามารถติดต่อสู่คนได้ ส่วนตัวเชื้อระยะ trophozoite เมื่อออกสู่สิ่งแวดล้อมจะตายเร็ว แม้ว่าเรารับประทานเข้าไป กรดในกระเพาะก็จะทำลายตัวเชื้อ เชื้ออาจจะอยู่ในลำไส้โดยที่ไม่เกิดอาการและสามารถแพร่เชื้อออกทางอุจาระ  ([A.]: non-invasive infection) แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อลุกลามเข้าผนังลำไส้ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ ([B.]:intestinal disease), และอาจจะทำให้เกิดโรคที่ตับ สมอง และปอด  ([C.]:extra-intestinal disease) 
อาการ :

1.ไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง ถ้าไปตรวจจะพบอะมีบาในอุจจาระ
2.มีอาการชนิดเฉียบพลัน ปวดบิด ถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระมีกลิ่นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาการไม่แรงเท่าบิดไม่มีตัว ถ้าผู้ป่วยต้านทานโรคได้น้อย อาจจะมีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือดมาก
3.มีอาการชนิดเรื้อรัง เป็นผลจากบิดชนิดเฉียบพลัน แล้วรับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อะมีบาจึงตายไม่หมด ทำให้อาการไม่หายขาด และเป็นไปเรื่อยๆ 
4.โรคแทรกซ้อน ลำไส้เกิดการทะลุ เกิดแผลที่ลำไส้ใหญ่ เป็นฝีที่ตับ เพราะอะมีบาเข้าไปที่กระแสเลือดและไปยังตับอักเสบและเป็นฝี ฝีนี้อาจแตกทะลุไปยังปอด ทำให้เป็นฝีที่ปอดด้วย
การวินิจฉัย :
       แพทย์วินิจฉัยโรคบิดมีตัวได้จาก ประวัติอาการ ถิ่นที่อยู่อาศัย ประวัติการเดินทาง การทำ งาน การตรวจร่างกาย การตรวจอุจจาระ การเพาะเชื้อจากอุจจาระ การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทาน(Antigen)ของเชื้อจากอุจจาระการตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทาน(Antibody)และอาจมีการตรวจสืบค้นอื่นๆเพิ่มเติม          ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย ความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพช่องท้องด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
การรักษา :                                                                                
1) Metronidazole ขนาดที่ใช้ 400-800 มก. วันละ 3 ครั้งนาน 5 วัน         
2) Tinidazole รับประทานครั้งเดียวพร้อมอาหาร หรือวันละ 1ครั้งพร้อมอาหาร เป็นเวลา 3-5 วัน                                                        
ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน :                                         
       โรคบิดมีตัว ที่เกิดกับลำไส้ มักไม่รุนแรง รักษาได้หายภายในระยะ เวลาประมาณ1-2สัปดาห์ ทั้งนี้ ภายหลังการรักษา เมื่อกลับไปสัมผัสโรคอีก ก็มีโอกาสติดเชื้อครั้งใหม่ได้อีก                                                                ในผู้ป่วยที่เกิดฝีหนองตามอวัยวะต่างๆนอกลำไส้ อาการมักรุนแรงกว่า และอาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดฝีหนองในสมอง (ฝีสมอง) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับ สายพันธุ์ย่อยของเชื้อ ปริมาณเชื้อที่ร่างกายได้รับ และพื้นฐานสุขภาพร่างกายผู้ป่วย                                            

ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคบิดมีตัว พบได้น้อย ที่อาจพบได้ เช่น เชื้อแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเป็นฝีหนองของอวัยวะต่างๆดังกล่าวแล้ว หรือเชื้อในลำไส้ก่อการอักเสบเรื้อรัง จากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกต้อง จนเกิดเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม คลื่นไส้ อาเจียนมาก) นอกจากนั้น การเป็นบิดเรื้อรัง มักก่อให้เกิดภาวะขาดอาหารหรือทุพโภชนาการ ภาวะซีด ผอมลงหรือน้ำหนักลด และอ่อนเพลีย เป็นต้น                                                                          
การดูแลรักษา : การดูแลตนเอง ที่สำคัญ คือ ควรรีบพบแพทย์เสมอเมื่อมีอุจจาระเป็นมูกเลือด เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุ และได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ หลังพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองเมื่อเป็นบิดมีตัว คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ และกินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ นอกจากนั้น คือ                                                                           
รักษาสุขอนามัยพื้นฐานอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสติดโรคซ้ำ และลดโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น                                                                   
ช่วงมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ควรกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสจืด
รักษาความสะอาดอาหารและน้ำดื่มเสมอ กินแต่อาหารปรุงสุกทั่วถึง ปรุงใหม่ๆ ระ มัดระวังการกินน้ำแข็ง และผัก ผลไม้ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภค                                                                                   
ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ       
พบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ มีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่างๆเช่น ถ่ายเป็นมูกเลือดมากขึ้น ปวดท้องมากขึ้น หรือ ปวดศีรษะ หรือไอ มากขึ้น ไข้ไม่ลง หรือกลับมามีไข้อีก และหรือเมื่อกังวลในอาการ
การป้องกัน : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคบิดมีตัว ดังนั้น การป้องกันโรคบิดมีตัว โดยทั่วไป คือ                                                         
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน                                                                   - ล้างมือเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ                        - ล้าง ผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนบริโภค                                             - รักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนของการปรุงอาหาร                                  - น้ำดื่ม น้ำใช้ ต้องสะอาด อาหารต้องปรุงสุกทั่วถึง น้ำแข็งต้องสะอาด ระมัดระวัง อาหาร น้ำดื่ม ที่ขายข้างทาง                                    - ระมัดระวัง เรื่องอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ เมื่อไปยังถิ่นที่ยังขาดสุขอนามัย                                                                                       - ควรใช้ถุงยางอนามัย (ถุงยางอนามัยชาย) เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก                                                                                               - มีส่วนร่วมในชุมชน ในการช่วยกันรักษาสุขอนามัยชุมชน และถ่ายอุจจาระในส้วมเสมอ 

Cryptosporidium parvum

รูปที่7 : Cryptosporidium parvum
ปรสิตสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มค็อกซิเดีย ซึ่งอยู่ในเซลล์บุผนังลำไส้เล็กของคนและสัตว์ ลักษณะพิเศษของเชื้อคือเชื้ออาศัยอยู่นอกไซโทพลาซึมของเซลล์โฮสต์


รูปที่ 8 : วงจรชีวิตของ Cryptosporidium parvum
วงจรชีวิต 
 เชื้อระยะโอโอซิสต์ ออกมาในอุจจาระของผู้ติดเชื้อ ตอนที่ออกมายังเป็นโอโอซิสต์สุกแล้วซึ่งเป็นระยะติดต่อ ซึ่งภายในมีสปอโรซอยต์ 4 ตัว เมื่อคนกินโอโอซิสต์สุกดังกล่าว สปอโรซอยต์ออกมาในลำไส้เล็ก ไชเข้าเซลล์บุผนังลำไส้ และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนโดยไม่อาศัยเพศ ผลผลิตขั้นสุดท้ายเรียกว่าเมโรซอยต์ การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อในเซลล์บุผนังลำไส้ทำให้เซลล์แตก เมโรซอยต์ออกมาและเข้าเซลล์ข้างเคียงและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนต่อไป ระหว่างนั้น เมโรซอยต์ส่วนหนึ่งที่เข้าเซลล์จะไม่แบ่งตัว แต่จะพัฒนาไปเป็นมาโครแกมีตและไมโครแกมีต ทำปฏิสนธิกันได้เป็นไซโกต สร้างผนังหุ้มกลายเป็นโอโอซิสต์อ่อนและกลายเป็นโอโอซิสต์สุกขณะอยู่ในเซลล์บุผนังลำไส้ และจะหลุดออกมากับอุจจาระ วงจรชีวิตอาจกินเวลาสั้นเพียง 2 วัน
 อาการ
ระยะฟักตัวของโรค 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการท้องร่วง อุจจาระเป็นน้ำหรือมีมูก แต่ไม่มีเลือดในอุจจาระ (ต่างจากบิดมีตัวเพราะอุจจาระมีมูกเลือด) ปวดท้องคล้ายตะคริว มีไข้ ถ้าเป็นเรื้อรังทำให้ลำไส้ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี น้ำหนักตัวลด คนปกติมักหายจากโรคเองได้ใน 1 ถึง 2 สัปดาห์และโรคมักไม่รุนแรง แต่ในเด็กและคนภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการท้องร่วงจะรุนแรง ถ่ายบ่อย จำเป็นต้องรักษา แต่เนื่องจากคนที่ปวดท้องไม่สามารถแยกท้องร่วงจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อาหารเป็นพิษ จึงต้องมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจอุจจาระหาเชื้อโดยผู้เชี่ยวชาญ
การติดต่อ
แม้ว่าจะพบเชื้อได้ในสุนัขและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ แต่ก็เชื่อว่าคนเป็นแหล่งแพร่เชื้อสู่คนทางอาหารและน้ำดื่มที่แปดเปื้อนอุจจาระ เชื้อเป็นสาเหตุหนึ่งของท้องร่วงในนักท่องเที่ยว                                      
การวินิจฉัย
ตรวจอุจจาระภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยย้อมสีแอซิดฟาสต์ (acid fast) ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการประจำคือวิธี modified Ziehl-Neelsen จะพบโอโอซิสต์กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร ภายในมีก้อนสีแดง มีบริเวณในก้อนที่ดูเหมือนเป็นช่องว่าง บริเวณโดยรอบติดสีเขียวหรือน้ำเงิน
การป้องกัน
ดื่มน้ำสะอาด อาหารที่ปรุงสุก โอโอซิสต์มีความทนทานมากกว่าโอโอซิสต์เชื้อตัวอื่นๆการใส่คลอรีนในสระว่ายน้ำไม่สามารถทำลายเชื้อได้หมด แม้ แต่การฉายแสงอัลตาไวโอเลตน้ำดื่มยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย120 นาที           
การรักษา
ในคนที่ภูมิคุ้มกันปกติหรือเด็กที่ติดเชื้อ ให้ยานิทาโซซาไนด์(Nitazoxanide) ร่วมกับการชดเชยน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ในผู้ป่วยเอดส์ต้องให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ภายใต้การสั่งยาของแพทย์

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา
(Amoebic meningoencephalalitis)
เป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้ออะมีบาใน Genus Naegleria เช่นNaegleria fowleri และ Genus Acanthamoeba เช่น Acanthamoeba castellani,                A. culbersoni,A hatchetti, A. polyphaga   และ A. rhysodes พบอะมีบาเหล่านี้ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ได้แก่ ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด ฯลฯ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำไหลช้าๆ  หรือบริเวณที่เป็นดินโคลน อะมีบาเหล่านี้ชอบน้ำอุ่นๆ จึงพบมากในฤดูร้อน หรือพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำร้อนออกมา แต่จะไม่พบในน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล โดยปกติอะมีบาเหล่านี้ดำรงชีพอิสระในสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกินของเสียจากแบคทีเรีย แต่เมื่ออะมีบาดังกล่าวมีโอกาสเข้าสู่คนจะก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงโดยเฉพาะที่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ความตายได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาเหล่านี้ไม่มากนัก มีรายงานพบในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยียมและเช็คโกสโลวาเกีย เป็นต้น

รูปที่9 : วงจรชีวิตของ Naegleria fowleri และ Acanthamoba spp.
Naegleria fowleri
วงจรชีวิต มี 3 ระยะ ได้แก่ อะมีบาโทรโฟซอยต์, อะมีบาซิสต์และแฟลกเจลเลต ระยะอะมีบาโทรโฟซอยต์มีขนาด 10-20 ไมโครเมตร นิวเคลียสมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยวงใส รูปร่างทั่วไปค่อนข้างยาวคล้ายตัวทาก (รูปที่ 1) เคลื่อนที่ได้โดยใช้ขาเทียมที่มีลักษณะทู่กลม (lobopodia) คล้าย Entamoeba histolytica ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม  ระยะอะมีบาโทรโฟซอยต์สามารถเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งตัวแบบ binary fission ได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางสภาวะเช่น สภาพแออัด แห้งแล้งหรือขาดอาหาร โทรโฟซอยต์อาจเปลี่ยนรูปร่างชั่วคราว เป็นแฟลกเจลเลตซึ่งมีแฟลกเจลลัม 1-4 เส้น หรือเปลี่ยนเป็นอะมีบาซิสต์ที่มีรูปร่างกลม ผนังซิสต์เรียบ มีรู 2-3 รู เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น อะมีบาจะออกจากซิสต์เป็นระยะโทรโฟซอยต์ อย่างไรก็ตาม การแปรสภาพเป็นซิสต์หรือแฟลกเจลเลตหรือมีการแบ่งตัว อะมีบาจะต้องอยู่ในรูปอะมีบาโทรโฟซอยต์เท่านั้น

รูปที่10 : Living trophozoite of N. fowleri
 Acanthamoba spp.
              มี 2 รูปในวงจรชีวิตคือ โทรโฟซอยต์และซิสต์ ระยะโทรโฟซอยต์ (รูปที่ 2) มีนิวเคลียสคล้าย Naegleria แต่มีการเคลื่อนที่ช้ากว่า มีลักษณะเด่นคือมีขาเทียมลักษณะเป็นหนามสั้นๆ และเป็นเส้นยาวยื่นเป็นแฉกๆ (spiky acanthopodia) เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น การขาดแคลนอาหารอะมีบาจะเข้าซิสต์ และจะออกจากซิสต์ใหม่ ถ้าอาหารอุดมสมบูรณ์ ระยะซิสต์มีเพียง 1 นิวเคลียส และมีรูปทรงหลายเหลี่ยมหรือโค้งนูน มีผนังซิสต์ 2 ชั้น ผนังชั้นในมีลักษณะหนากว่าและมีรูปร่างได้หลายแบบ ส่วนผนังชั้นนอกจะบางกว่าและมีรูปทรงไม่แน่นอน

รูปที่11 : Living trophozoite of A. culbertsoni
การติดต่อ
Naegleria fowleri
 จะพบในผู้ป่วยที่เป็นคนปกติและมีประวัติไปว่ายน้ำทำให้ได้รับอะมีบาเข้าสู่โพรงจมูก อาจโดยการสำลักน้ำเข้าทางจมูก เชื้อ Naegleria ทุกระยะทั้งระยะอะมีบาโทรโฟซอยต์ อะมีบาแฟลกเจลเลตและซิสต์สามารถติดต่อสู่คนได้ แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปอะมีบาโทรโฟซอยต์เท่านั้น ในรายที่ได้รับเชื้อเข้าไปน้อยจะไม่เป็นโรค คนที่ชอบดำน้ำลงไปที่ก้นหนองน้ำหรือบึงแล้วสำลักจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่เล่นน้ำบริเวณผิวน้ำ เพราะเชื้อจะมีมากบริเวณก้นบึง ในกรณีที่ได้รับเชื้อเข้าไปมากเชื้อจะแบ่งตัวในจมูก ทำให้มีอาการคล้ายเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ต่อมาอะมีบาจะไชเยื่อบุโพรงจมูกผ่านไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) และลามต่อไปยังเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง แล้วมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวในสมอง
Acanthamoba spp.
มักพบในผู้ป่วยที่มีสุขภาพทรุดโทรมหรือมีการกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งการติดต่อเข้าสู่คนเป็นไปได้หลายทาง เช่น การได้รับเชื้อผ่านบาดแผลที่ผิวหนัง, การหายใจ, การติดเชื้อทางตาซึ่งอะมีบาสามารถแทรกตัวเข้ากระจกตา (cornea) ได้โดยตรงหลังจากเกิดแผลหรือจากการสวมใส่เลนส์สัมผัส (contact lens) ที่มีการรักษาความสะอาดไม่ดีพอ การติดเชื้ออาจผ่านทางอวัยวะอื่น ๆ ได้อีก เช่น หู จมูกและทางเดินหายใจ อวัยวะสืบพันธุ์และอวัยวะขับปัสสาวะ แล้วเข้าสู่สมองโดยผ่านทางกระแสโลหิต นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเชื้อจากกระแสโลหิตสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ตับ ม้าม ปอดและกล้ามเนื้อหัวใจ อะมีบากลุ่มนี้ทนทานต่อความร้อนและสารคลอรีนในน้ำประปาได้ดี พบว่าชนิดที่ก่อให้เกิดโรคบ่อยที่สุดคือ Acanthamoeba castellani
พยาธิวิทยา
Naegleria fowleri
      ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนองแบบเฉียบพลันและสมองอักเสบปฐมภูมิจากอะมีบา (Primary amoebic meningoencephalitis: PAM) มีระยะฟักตัวสั้นและอาการรุนแรงรวดเร็ว ที่สำคัญคือ มักพบอาการอักเสบของเส้นประสาทส่วนรับกลิ่น (olfactory area) มีการอักเสบของ Subarachnoid area มีเลือดออกและมี fibrous thickening ของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย โดยเฉพาะบริเวณที่ฐานของสมอง เนื้อสมองบวม นุ่ม และมีการอักเสบทั่วไปได้ มี necrotizing vasculitis ที่สมองและไขสันหลัง ในรายที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองมากๆ มักพบตัวอะมีบาร่วมด้วยแต่พบเฉพาะระยะอะมีบาโทรโฟซอยต์เท่านั้นไม่พบระยะซิสต์ในเนื้อเยื่อ ในเนื้อสมองพบตัวอะมีบาที่รุกล้ำเข้าไปในคอร์เท็กซ์ของสมองโดยตรง ทำให้เกิดเนื้อเยื่อสมองอักเสบโดยมีเซลล์ไป infiltrate เกิดมี thrombosis/necrosis ของหลอดเลือดได้
Acanthamoba spp.
      ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเรื้อรังหรือเฉียบพลันที่มีระยะฟักตัวของโรคนาน อะมีบาจะกัดกินเนื้อเยื่อโดยปล่อยเอนไซม์ออกมาทำลาย  เมื่อเข้าสู่ระยะเรื้อรังจะมีการอักเสบแบบแกรนูโลมาของอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ผิวหนังอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (subacute granulomatous dermatitis), ปอดอักเสบ (pneumonitis) และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เมื่อปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาเชื้อจะลุกลามเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางและสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granulomatous amoebic encephalitis: GAE) ในกรณีที่เชื้อเข้าทางตาจะก่อให้เกิดโรคกระจกตาอักเสบ (Acanthamoebic keratitis) ขบวนการจะเริ่มเกิดอย่างรวดเร็ว โดยเกิดแผลที่กระจกตา, มี corneal infiltration เพิ่มขึ้น, กระจกตาขุ่นเป็นฝ้า, ม่านตาอักเสบและมีหนองในตา เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะพบฝีที่กระจกตาเห็นเป็นรูปวงแหวน
อาการและอาการแสดง
Naegleria fowleri
มีระยะฟักตัวสั้น อาการของโรคเกิดเร็วมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากการว่ายน้ำหรือเล่นน้ำได้ไม่นาน โดยทั่วไปเกิดหลังจากการได้รับเชื้อเพียง 2-3 วัน อาการที่เริ่มแสดงจะเหมือนกับไข้หวัดธรรมดา มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ต่ำๆ และมีอาการปวดศีรษะ จากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ผู้ป่วยมีภาวะซึม เพ้อ อาการเหล่านี้จะเป็นมากและทรุดหนักอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน ไข้จะขึ้นสูง อาการปวดศีรษะจะเพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีอาการอาเจียนและคอแห้ง และอาจถึงกับมีอาการหมดสติได้ภายในเวลา 3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกันมากกับรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพราะเชื้อหนองที่มีเนื้อสมองตายบางส่วน เนื่องจากมีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในราววันที่ 5-7 ของโรคด้วยอาการหมดสติอย่างลึก ระบบหายใจและการหายใจล้มเหลว ปอดบวมน้ำและสมองบวม การตรวจระบบประสาทนอกจากอาการคอแข็งและอาการหมดสติแล้ว มักพบว่าอาจเสียการมองเห็นและการรับรู้กลิ่นด้วย
Acanthamoba spp.
      มีระยะฟักตัวนาน สมองมีการอักเสบอย่างช้า ๆ ในคนที่แข็งแรงพบว่า GAE ไม่รุนแรงเหมือนกับ PAM แต่จะมีอาการรุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยรังสี อาการจะคล้ายกับโรคที่มีเนื้อสมองตายบางส่วน เนื่องจากมีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบตามมา ผู้ป่วยมีภาวะจิตไม่ปกติ มีอาการปวดศีรษะและมีไข้ต่ำเป็นระยะ ๆ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจาก bronchopneumonia และตับหรือไตวาย ในกรณีที่เชื้อเข้าทางตาจะทำให้เกิดแผลที่กระจกตาหรือกระจกตาอักเสบ (Acanthamoebic keratitis) ทำให้กระจกตาขุ่นเป็นฝ้า ซึ่งผู้ป่วยอาจสูญเสียสายตาหรือลูกตาได้
การตรวจวินิจฉัย                                                                           1) หากประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแพทย์จะทำการตรวจ                                                        
2) เจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
3) บางรายอาจจะเจาะหาระดับเกลือแร่ในเลือด                                 
4) แพทย์จะเจาะนำเอาน้ำไขสันหลัง (spinal tap,lumbar puncture ) เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจและเพาะเชื้อ                                               
5) แพทย์บางรายอาจจสั่งตรวจ computer scan
การรักษา
1) ถ้าเป็นเชื้อไวรัสแพทย์จะให้พัก และให้น้ำเกลือ                              
2) ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม                          3) ผู้ป่วยที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจจะต้องให้ยาฉีด 10-14 วัน หลังจากหายจะต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ชัก หรือตาบอด
การป้องกัน
1) เชื้อส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีเชื้อบางชนิดสามารถป้องกันได้
2) ป้องกันเชื้อ Haemophilus influenzae โดยการฉีดวัคซีน Hib vaccine       
3) คนที่สัมผัสกับคนที่ป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น ให้รับประทานยา           
4) ป้องกันการติดเชื้อ โดยให้วัคซีนป้องกันเชื้อปอดบวม pneumococcus สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ใหญ่ แต่ไม่สามารถป้องกันสมองอักเสบในเด็ก




อ้างอิง
สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย.โรคติดต่อที่เกิดจาโปรโตซัว.(ออนไลน์).สืบค้นจาก:
http://kingservice.co.th/Cockroach.html (19 สิงหาคม 2558)
วิกิพีเดีย.โปรโตซัว(ออนไลน์).สืบค้นจาก:
บทความการดูแลสุขภาพ และเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี. E.histolytica(ออนไลน์).สืบค้นจาก:
http://www.healthcarethai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-schistosomiasis/ (19 สิงหาคม 2558)
Siamhealth. Amoeba spp.(ออนไลน์).สืบค้นจาก:
บทความการดูแลสุขภาพ และเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี.โรคบิด.(ออนไลน์).สืบค้นจาก:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น