วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Virus

โรคฝีดาษ (Smallpox)
รูปที่1 : โรคฝีดาษ 
โรคฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก poxvirus มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี 2504องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี ค.ศ1970แต่ที่มีความกังวลว่า จะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ในสงคราม ประเทศรัสเซียได้มีการพัฒนาเชื้อชนิดนี้ไว้ใช้ในสงคราม เมื่อประเทศรัสเซียล่มสลายคาดว่าจะมีการเล็ดรอดของเชื้อนี้ไปยังประเทศอื่น   
โรคฝีดาษกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลาย เนื่องโรคนี้ได้ถูกนำมาใช้ในสงครามเชื้อโรค จนกระทั่งประเทศอเมริกาได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชานสำหรับประเทศไทยแม้ว่ายังห่างไกลจากแหล่งที่คาดว่าจะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ แต่ก็ไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท เนื่องปัจจุบันการเดินทางของคนไม่มีขอบเขตจำกัดทำให้อาจจะมีการระบาดมาถึงประเทศไทย จึงควรที่จะเรียนรู้รู้นี้ไว้
สาเหตุ : เป็นไวรัส DNA เชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษมี 2 ชนิดคือ variolar major ทำให้เกิดโรคฝีดาษซึ่งมีอาการรุนแรงและมีอัตราการตายสูงประมาณ1ใน3 variolar minor ทำให้เกิดโรค alastrim ซึ่งอาการไม่รุนแรงเท่า และอัตราการตายต่ำ เชื้ออยู่ในสะเก็ดได้เป็นปี เชื้อถูกฆ่าตายที่อุณหภูมิ 60 Cº นาน 10 นาที
การติดต่อ : เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่การติดต่อไม่ง่ายเท่าในโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ มักจะต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไอ จาม หรือแม้ขณะพูดจะมีเชื้อแพร่ออกมาทางอากาศ และผู้ติดโรคจะหายใจเอาเชื้อเข้าไป นอกจากนี้อาจจะติดต่อโดยการได้รับเชื้อซึ่งอยู่ในเสื้อผ้าหรือที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีผื่น
อาการของโรค :                                                                         ระยะฟักตัวค่อนข้างจะคงที่ : จากการติดเชื้อจนมีอาการกินเวลา 7-17วันและเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน แต่อาจจะเร็วถึง 9 วันหรือนานถึง 21 วันหลังจากระยะฟักตัวก็จะเกิด อาการนำ เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
ระยะออกผื่น : ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้าหน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
โรคแทรกซ้อน
1) ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
2) ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
3) กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรคในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
4) ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
5) ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค
การวินิจฉัยโรค :
1) การวินิจฉัยโรคอาศัยทั้งประวัติและการตรวจร่างกาย
2) ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยา ในรายที่อาการตรงไปตรงมา
3) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4) การวินิจฉัยทางไวรัสวิทยา
การรักษา
1) ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรค 
2) ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
3) การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ
การปลูกฝี                                                                                  วัคซีนทำจากไวรัสชื่อ vaccinia เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในวัวที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนแรง เชื้ออาจะกระจายจากตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนไปยังตำแหน่งอื่นได้ ต้องระวังการรักษาความสะอาดการปลูกฝีสามารถป้องกันโรคฝีดาษ และค่อยข้างปลอดภัย แต่อาจจะมีผลข้างเคียงตั้งแต่น้อยจนมาก หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปีหากได้รับการกระตุ้นภูมิจะอยู่นานขึ้น 
การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล รูปภาพข้างล่างจะแสดงการเปลี่ยนแปลงของแผลหลังฉีดวัคซีน
รูปที่2 : รูปแสดงลักษณะของแผลภายหลังการฉีดวัคซีน
ผู้ที่ไม่ควรได้รับการปลูกฝี
1) ผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้ eczema,atropic eczema
2) ผู้ที่มีโรคผิวหนังเช่น แผลไฟไหม้ งูสวัด เรื้อนกวาง
3) กำลังให้นม
4) เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
5) คนที่ตั้งครรภ์ 
6) ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเช่นผู้ที่เปลี่ยนไต หรือได้รับยาsteroid
7) โรคเอดส์ 
8) ผู้ป่วยแพ้วัคซีน
การดูแลตำแหน่งที่ปลูกฝี
1) ใช้ผ้าหรือเทปปิดแผลเพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ แล้วใช้เทปกันน้ำปิดแผล
2) สามารถใส่เสื้อเพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น
3) เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน
4) ล้างมือด้วยสบู่หลังจากทำความสะอาดแผล
5) ทิ้งผ้าทำแผลลงในถุงแยกต่างหากแล้วน้ำไปเผา
6) เสื้อที่ใส่นำไปต้มและซัก
ข้อห้าม
1) ห้ามใช้เทปที่ไม่สามารถระบายอากาศ
2) อย่าแกะสะเก็ดแผล 
3) อย่าทายาใดๆทั้งสิ้น


โรคหูดหงอนไก่ (genital wart, condyloma acuminata)
รูปที่3 : หูดหงอนไก่
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ลักษณะเป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ รวมทั้งที่ทวารหนัก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า human papilloma virus โดยทั่วไปมักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อนคล้ายหงอนไก่ พบได้หลายรูปแบบ อาจมีจำนวนและขนาดที่แตกต่างกันได้มาก และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งแห่ง มักพบเป็นก้อนเนื้อผิวขรุขระ ก้อนเนื้ออาจรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อเล็กๆหลายก้อน ตำแหน่งที่พบบ่อยเป็นที่บริเวณคอคอดของอวัยวะเพศชาย นอกจากนี้ยังพบได้มากที่บริเวณแคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิง หูดหงอนไก่ชนิดแบนมักพบที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน เช่น ในท่อปัสสาวะชาย หรือช่องคลอดและปากมดลูก ปกติโรคหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่อาจมีการฉีกขาดเลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้ จำนวนและขนาดของหูดจะใหญ่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์
สาเหตุ
โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี human papilloma virus (HPV) โดยเป็นการติดเชื้อที่ชั้นหนังกำพร้า                                                              ไวรัส papilloma เป็น DNA virus จัดอยู่ใน Family Papovaviridae ชื่อของแฟมิลีได้มาจากอักษรสองตัวแรกของเชื้อ 3 ชนิดคือ papilloma, polyoma และ vacuolating agent โดยเชื้อไวรัสในแฟมิลีนี้มีจีโนมเป็น DNA สายคู่ แคปซิดมี icosahedral symmetry รูปร่างกลม ไม่มีเปลือกหุ้ม มีขนาดประมาณ 55 นาโนเมตร และเพิ่มจำนวนในนิวเคลียส                 
เชื้อไวรัสเอชพีวี types ต่างๆทำให้เกิดหูดหรือติ่งเนื้องอกต่างชนิดกัน เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางรอยถลอกของผิวหนังและเยื่อเมือก ทางเพศสัมพันธ์หรือทารกติดจากทางคลอดของมารดา เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในเซลล์เยื่อบุผิวหนังและเยื่อเมือกเท่านั้น ในภาวะปกติไวรัสไม่มีการแพร่กระจาย หูดเกิดจากเซลล์ติดเชื้อเพิ่มจำนวนจนเป็นก้อนทูม หูดที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีมีความแตกต่างกันได้มากทั้งรูปร่าง ลักษณะ และตำแหน่งรอยโรค พบได้ทั้งหูดที่ไม่เป็นอันตรายรุนแรงและหายไปได้เอง และหูดที่เปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง
ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปานกลาง และถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี types 16, 18 ถือว่ามีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าเกิดจากการติดเชื้อมากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของเชื้อไวรัสกับการเกิดโรคมะเร็งกำลังได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเอชพีวีนาน 1–6 เดือน
อาการ : ลักษณะของโรคหูดหงอนไก่ ปกติจะมีตุ่มหงอนไก่ คล้ายตุ่มหูด หรือหงอนของไก่ สีแดงสด บริเวณอวัยวะเพศ หรือข้างเคียง ถ้ากระทบแรงๆ อาจจะมีเลือดออกได้ บางครั้งถ้าอยู่ในช่องคลอดลึกอาจจะมองไม่เห็นแต่ มีอาจมีอาการตกขาวได้ ถ้าอยู่แถวปากช่องคลอด ก็จะเห็นได้ง่าย ในผู้ชายอาจเป็นที่ทวารหนัก หรือปลายอวัยวะเพศได้                                     

การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่บริเวณอวัยวะเพศ สามารถทำให้เกิดรอยโรคได้หลายแบบ
1) หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูงอกบานออกทางด้านนอก ดูคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ ในผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาติ บางครั้งอาจเกิดที่ปากท่อปัสสาวะ และอาจงอกลามลึกเข้าไปภายในได้ ผู้ชายรักร่วมเพศ มักพบหูดที่รอบทวารหนักซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในได้ ผู้หญิงพบบ่อยที่ปากช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี types 6,11
2) หูดชนิดแบนราบ มักพบบริเวณปากมดลูก ลักษณะแบนราบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี type 16 ปัจจุบันพบว่าหูดชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก
3) หูดชนิดกลุ่ม ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 3 – 4 มม. สีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบ หรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกันหลายตุ่ม และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี types 16,18
4) หูดก้อนใหญ่ ลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมาก จนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุมอวัยวะเพศไว้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี type 6 บางคนอาจเรียกว่าเป็นหูดยักษ์ สาเหตุที่ทำให้หูดโตเร็ว ได้แก่ การตั้งครรภ์ ตกขาว ความสกปรก และการติดเชื้อ
การวินิจฉัย :โรคหูดหงอนไก่สามารถให้การวินิจฉัยได้จากลักษณะประวัติอาการ และการตรวจพบหูดที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ในรายที่อาการไม่ชัดเจน อาจใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าช่วย เนื่องจากเชื้อไวรัสยังเพาะเลี้ยงไม่ได้ วิธีทางห้องปฏิบัติการที่นิยมใช้เป็นวิธีการตรวจจากตัวอย่างตรวจโดยตรง เป็นการตรวจหาเซลล์ติดเชื้อ อนุภาคไวรัส หรือจีโนมของไวรัสจากชิ้นเนื้อหูด
การตรวจหาจีโนมของไวรัสเอชพีวีเป็นวิธีที่มีความไวมาก เพราะในเซลล์ที่ติดเชื้ออาจมีจีโนมของไวรัสอยู่ แต่ยังไม่มีการแสดงออก เซลล์ติดเชื้อจึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง สร้างแอนติเจน หรืออนุภาคไวรัส ออกมาให้ตรวจพบ
การรักษา : แม้ว่าหูดจะค่อยๆยุบหายไปเองได้ แต่กินเวลานาน และถ้าเป็นติ่งเนื้องอกใหญ่ๆตามบริเวณที่ชื้นแฉะ จะมีโอกาสหายเองได้น้อย ถ้าปล่อยให้ผู้ป่วยมีหูดที่อวัยวะสืบพันธุ์นานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
วิธีการรักษาโดยทาด้วยสารที่สกัดมาจากยางไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า podophylline พบว่าได้ผลดี แต่อาจมีอันตรายข้างเคียงของยา และไม่ควรใช้ยานี้นานเกินกว่าหนึ่งเดือน
1) จี้ด้วยไฟฟ้า หรือจี้โดยใช้ความเย็น เช่น ก๊าซไนโตรเจนเหลว
2) ทำการผ่าตัดออก อาจมีปัญหาเรื่องเลือดออกมาก
3) จี้ด้วยเลเซอร์ สามารถใช้ได้ผลดี โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ยากต่อการรักษา
4) ในกรณีที่เป็นตอนตั้งครรภ์ อาจทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ต้องใช้การคลอดด้วยการผ่าตัดแทน
สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นวัคซีนชนิดผสมเชื้อไวรัสรวมสี่ชนิด ได้แก่ HPV types 6, 11, 16, 18 ซึ่งปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก พบว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน
ป้องกันการติดโรคใหม่โดยตรวจคู่เพศสัมพันธ์ หรือหลีกเลี่ยงแหล่งที่อาจมีเชื้อไวรัส


โรคหัด (Measles)
รูปที่4 : หัด
เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายทางเสมหะ น้ำลายเกิดจากเชื้อ Measles virus คนที่ได้เชื้อนี้จะมีไข้สูง ตาแดง ไอ หลังจากมีไข้ 3-7 วันก็จะมีผื่นซึ่งเริ่มที่หน้าก่อน และลามไปทั้งตัว เป็นโรคติดต่อโรค มักเป็นกับเด็กเล็ก 9 เดือน- 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ มักจะระบาดตอนฤดูหนาวถึงฤดูร้อน
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อประมาณ2-4 วันก่อนเกิดผื่น และหลังเกิดผื่นแล้วยังติดต่อได้อีก 2-5 วัน
อาการ
1) ระยะฟักตัว คือจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 8-12 วัน
2) อาการนำเริ่มต้นด้วยเด็กจะมีไข้สูง อาการงอแง กระสับกระส่าย ปวดตามตัว น้ำมูกไหล ตาจะแดงและแพ้แสง ไอแห้งๆ มีอาการไข้สูงปวดตามตัว  ระยะที่เริ่มเป็น 2-3 วันแพทย์อาจตรวจพบผื่นแดงเล็กๆในปากเรียก Koplick'spot
3) ระยะออกผื่น หลังมีไข้ 3-4 วันจะไอมากขึ้น มีผื่น โดยผื่นขึ้นหน้าผาก และลามไปที่หน้า คอ และลำตัวในเวลา 24- 36 ชั่วโมง เมื่อผื่นขึ้นอาการปวดเมื่อจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆลง  ผื่นจะใช้เวลา 3 วัน ลามจากหัวถึงขา ฝ่ามือฝ่าเท้าจะไม่มีผื่น ผื่นจะเริ่มจางที่ศีรษะก่อน ผื่นจะจางใน 7-10 วัน เหลือรอยดำๆ 
4) ผู้ที่ขาดวิตามินเอ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป
การติดต่อ
- โรคนี้จะติดต่อโดยคนใกล้ชิดได้สัมผัสกับเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่เกิดจากการไอหรือจาม
- เชื้อที่อยู่ในอากาศหรือผิวของวัตถุจะยังคงติดต่อสู่คนอื่นได้ 2-4 ชั่วโมง
- สำหรับผู้ป่วยจะแพร่เชื้อก่อนและหลังมีผื่น 4 วัน
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- เด็กที่ยังไม่ฉีดวัคซีน
- สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น HIV ได้รับยา steroid
- นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้วไปเที่ยวแหล่งระบาด
โรคแทรกซ้อน
- ระบบหายใจ อาจเกิดได้ตั้งแต่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ จนถึงปอดบวม
- ภาวะแทรกซ้อนทางหู อาจเกิดหูชั้นกลางอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนทางตา จะมีเยื่อบุตาอักเสบ จนเป็นแผลที่แก้วตา corneal ulcer
- ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหาร มีการอักเสบของลำไส้ทำให้ถ่ายเหลว
- ภาวะแทรกซ้อนระบบส่วนกลาง อาจพบสมองอักเสบ encephalitis เป้นภาวะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ และซึมลง

การรักษา
เนื่องจากโรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสดังนั้นจึงไม่มียาที่รักษาโดยตรง ท่านต้องปรึกษาแพทย์ของท่านให้ทราบถึงวิธีดูแล และโรคแทรกซ้อนต่างๆ หลักการดูแลทั่วๆไป คือ
- ให้ตรวจวัดอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอให้ยาลดไข้ด้วย paracetamol หรือibuprofen ห้ามใช้ยา aspirin ในการลดไข้ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเนื่องจากจะทำให้เกิด Reye's syndrome
- กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะที่หูและปอดควรให้ยาปฏิชีวนะทันที่เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรคหัดที่เกิดในประเทศด้อยพัฒนาที่มีการขาดวิตามินเอจะต้องวิตามินเอ สองครั้งห่างกัน 24 ชั่วโมงซึ่งจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 50
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMR ตามตารางการฉีด หรือสามารถฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรค หรือหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 3 วันก็กันโรคได้
ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ทารถ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งหรือวัณโรค กลุ่มคนเหล่านี้มีภูมิคุ้มกันต่ำหากสัมผัสโรคต้องให้ Gamma globulin


เริม
รูปที่5 : เริม
Herpes simplex virus (HSV) เป็นไวรัสที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสาเหตุก่อโรคเริม มี 2 ชนิด คือ Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) ไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุก่อโรคในคนได้หลายแบบ มีการติดเชื้อเฉพาะที่ (localized infection) และอาจมีการติดเชื้อแบบทั่วไป (systemic infection) พบตั้งแต่ไม่มีอาการโรค จนถึงมีอาการโรครุนแรงมากจนเสียชีวิต ตัวอย่างโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ HSV ได้แก่ gingivostomatitis, herpes labialis, herpes genitalia, herpes keratoconjunctivitis, herpes encephalitis, neonatal herpes infection เป็นต้น ความรุนแรงของโรคมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
      รูปร่างและคุณสมบัติของไวรัส : HSVเป็นไวรัสในตระกูล Herpesviridae Subfamily Alphaherpesvirinae อนุภาคไวรัสประกอบด้วยสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ เส้นตรง สายคู่ ห่อหุ้มด้วยแคพสิดโปรตีนที่มีโครงสร้างแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม (icosahedral symmetry) รอบนอกมีเอนเวลลอบซึ่งเป็นชั้นไขมันห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ระหว่างแคพสิดและเอนเวลลอบมีสารที่เรียกว่า tegument สะสมอยู่ HSV เป็นไวรัสที่ไม่คงทน ความสามารถในการติดเชื้อสามารถถูกทำลายได้ด้วยสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ อีเธอร์ เป็นต้น รวมทั้งแสงอุลตร้าไวโอเลท ไวรัสคงทนที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสนาน 2-3 วัน และสามารถเก็บได้นานเป็นปีที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น
 การติดต่อเข้าสู่ร่างกาย :  ไวรัสเข้าสู่ร่างกายส่วนมากโดยการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่เปิด ทางตา หรือติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และ มารดาสู่บุตร
      กลไกการเกิดโรค : ไวรัสจะเจริญในเซลล์บริเวณที่ได้รับเชื้อนั้น ทำให้เกิดพยาธิสภาพและมีอาการโรคปรากฏ ลักษณะที่พบได้บ่อยมากคือ ตุ่มน้ำใส (vesicle) ขึ้นที่บริเวณที่ติดเชื้อ ในบางรายจะพบรอยโรคนี้กระจายทั่วไปที่อวัยวะต่างๆและก่อพยาธิสภาพขึ้น เช่นที่ตา ทำให้มีอาการตาแดง เป็นต้น ส่วนใหญ่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการของโรค มีส่วนน้อยที่จะแสดงอาการของโรคซึ่งมักจะเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น ทารกแรกคลอด ผู้ที่รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อสามารถแพร่เข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆทำให้เกิดการติดเชื้อแบบทั่วไป HSV-1 มักเป็นสาเหตุของโรคเริมที่บริเวณปาก หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ ส่วน HSV-2 ส่วนมากเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการติดเชื้อของไวรัสทั้งสองสามารถพบได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted disease) นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อแพร่จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยมีการติดเชื้อตั้งแต่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอด หรือหลังการคลอด ซึ่งการติดต่อระหว่างการคลอดโดยทารกผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีรอยโรคอยู่ เป็นช่องทางที่พบบ่อยที่สุด รายงานว่า HSV-2 มีความสำคัญในการก่อโรคติดเชื้อในเด็กแรกคลอด เนื่องจากมักเป็นชนิดที่พบเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ แต่ปัจจุบันสามารถพบทั้ง HSV-1 และ HSV-2 อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์จะสูงในมารดาที่ติดเชื้อครั้งแรก คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 แต่ถ้ามารดาเคยมีการติดเชื้อแล้วและมีการกลับมาของโรคในระหว่างการตั้งครรภ์ อัตราการติดเชื้อก็จะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 3 โดยส่วนใหญ่มักมีการติดต่อในระหว่างการคลอดถึงร้อยละ 75-80
      ระยะหลบซ่อน หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสเริมจะยังอยู่ในร่างกายต่อไป โดยสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท ใกล้บริเวณที่มีการติดเชื้อ โดยไม่มีอาการโรคปรากฏ เรียกระยะนี้ว่า Latency ต่อเมื่อร่างกายได้รับตัวกระตุ้น (stimuli) ที่เหมาะสมเช่น ความเครียด รังสีอุลตร้าไวโอเลท การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไข้ การมีโรคติดเชื้อ การได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น ไวรัสที่หลบซ่อนอยู่จะถูกกระตุ้น (reactivate) ให้เคลื่อนตัวออกจากปมประสาทและทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวน เกิดพยาธิสภาพ คือมีการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) และมีอาการของโรคปรากฏอีกครั้ง เรียกการกลับมาของการติดเชื้อนี้ว่า Recurrent infection
      การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันคือ แอนติบอดีชนิด IgM, IgG และ IgA ในเด็กแรกเกิดที่ได้รับการติดเชื้อครั้งแรกพบว่ามีการสร้างแอนติบอดีชนิด IgM ภายใน 3 อาทิตย์หลังการติดเชื้อและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆภายใน 2-3 เดือน จนถึง 1 ปี ในผู้ใหญ่จะมีการสร้างแอนติบอดีภายใน 2-6 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสที่ได้รับและภาวะภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล แอนติบอดีที่สำคัญ คือ แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อที่มีคุณสมบัติทำลายการติดเชื้อของไวรัสและป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์เรียกว่า neutralizing antibody พบว่าแอนติบอดีที่สร้างขึ้นจะยังคงมีอยู่ตลอดไป นอกจากการสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสแอนติเจนแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ (cell-mediated immune response) เช่น cytotoxic T lymphocyte (CTL) ก็จะถูกสร้างและเตรียมพร้อมเพื่อทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบภายใน 4-6 อาทิตย์หลังการติดเชื้อ บางครั้งอาจพบได้ภายหลัง 2 อาทิตย์ ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคมากกว่าการมีแอนติบอดี
      ระบาดวิทยา การติดเชื้อครั้งแรกจะพบได้ในเด็กเล็ก เนื่องมาจากได้รับเชื้อโดยตรงจากมารดาหรือคนเลี้ยงเด็กซึ่งมีการติดเชื้อเริมมาก่อน การระบาดของโรคเริมขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมและเศรษฐานะทางครอบครัว พบว่าประมาณร้อยละ 92 ของประชากรผู้ใหญ่ไทยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว โดยส่วนใหญ่มีการติดเชื้อ HSV-1 ตั้งแต่อายุ 1-2 ปี ในกลุ่มที่มีเศรษฐานะต่ำ และประมาณ 2-5 ปีในกลุ่มที่มีเศรษฐานะดี ส่วน HSV-2 จะเริ่มมีการติดเชื้อในวัยเจริญพันธุ์ หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์
      การติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยปกติการติดเชื้อ HSV ในผู้ติดเชื้อที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติมักจะไม่ก่ออาการโรคที่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเรื้อรังและมีผลทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งต้องรับประทานยากดภาวะภูมิคุ้มกัน หรือผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถ้ามีประวัติเคยเป็นโรค หรือแม้จะไม่เคยมีอาการโรคปรากฏ แต่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อ HSV แล้ว มักมีโอกาสที่จะมีอาการโรคปรากฏและเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้หลายครั้งโดยมีความถี่บ่อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ พบระยะเวลาของโรคก็จะยาวนานกว่า บางครั้งการติดเชื้อซ้ำจะก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงและอาจพบกระจายเข้าสู่เลือด ทำให้ไวรัสแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ (disseminated infection) เป็นสาเหตุให้ตายได้ อวัยวะหลักที่พบว่าไวรัสมักเข้าไปเจริญเติบโตคือ ตับ และ adrenal นอกจากนี้ก็พบได้ที่กล่องเสียง หลอดลม ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆ ม้าม ไต ตับอ่อน หัวใจ และสมอง อาการโรคที่พบได้แก่ อาการติดเชื้อเริมในหลอดอาหาร อาการปอดบวม ตับโตม้ามโต สมองอักเสบ เป็นต้น
      การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ทารกในครรภ์ หรือทารกแรกคลอดจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อนอกจากมีอาการทางผิวหนังปรากฏแล้ว มักจะมีการติดเชื้อแบบแพร่กระจายด้วย อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ร้อยละ 20 ของเด็กที่ติดเชื้อ HSV และมีการติดเชื้อแบบทั่วไปจะไม่มีอาการทางผิวหนังเลย นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 65-70 ของเด็กแรกคลอดที่ได้รับการติดเชื้อจะแสดงอาการทางสมอง ทำให้อัตราการตายในเด็กแรกคลอดสูงถึงร้อยละ 30-50
ในกรณีที่มารดามีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ภูมิคุ้มกันของมารดาลดต่ำลงมาก มีผลทำให้มีการกลับมาของโรคบ่อยและรุนแรง ทำให้อัตราการติดเชื้อสู่ทารกมีโอกาสสูงเพิ่มขึ้นด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
      ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสเริมหรือ HSV นั้น สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้

1. การเพาะแยกเชื้อไวรัสเริม ตัวอย่างที่นิยมใช้คือ สวอปที่ป้ายเก็บจากตุ่มน้ำใสหรือบริเวณรอยโรคที่ปรากฏ จุ่มใส่ใน transport medium นำส่งห้องปฏิบัติการโดยการแช่น้ำแข็งทันที หรือน้ำไขสันหลัง ถ้าส่งไม่ได้ให้นำเข้าตู้เย็นเก็บที่ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามนำเข้าช่องแช่แข็งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ปริมาณไวรัสลดต่ำลง เนื่องจากไวรัสเริมเป็นไวรัสที่เพาะแยกได้ง่าย และใช้รอบเวลาในการเพิ่มจำนวนสั้นมาก (13-18 ชั่วโมงต่อการเพิ่มจำนวน 1 ครั้ง) นอกจากนี้ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงได้หลายชนิด เช่น เซลล์ของคน HeLa cell และ HEp-2 cell ที่นิยมใช้มากคือเซลล์จาก African green monkey kidney ชื่อ Vero cell เซลล์ติดเชื้อ HSV จะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า เกิด cytopathic effect (CPE) ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเฉพาะคือ จะพบเซลล์มีขนาดใหญ่ กลม วาว และมีนิวเคลียสอยู่รวมกันในเซลล์เดียว เรียกลักษณะนี้ว่า Multinucleated giant cell หรือ Polykaryotic cell การเพาะแยกไวรัสปัจจุบันก็ยังเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค เพราะผลที่ได้แสดงภาวการณ์ดำเนินของโรค ดังนั้นการเพาะแยกเชื้อจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้อยู่ แม้ว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน
2. การตรวจหาไวรัสแอนติเจน เนื่องจากการเพาะแยกเชื้อใช้เวลาค่อนข้างนานจึงมีการพัฒนาที่จะตรวจหาไวรัสแอนติเจนโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลรวดเร็วขึ้น แบ่งลักษณะการตรวจออกเป็น 2 แบบ คือ
2.1. การตรวจแบบไม่จำเพาะ ได้แก่
2.1.1. การตรวจหาอนุภาคไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมนักเพราะต้องใช้เครื่องมือราคาแพงและต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษ
2.1.2. การตรวจทางเซลล์วิทยา โดยการทำ Tzanck test เก็บตัวอย่างเซลล์จากรอยโรค นำมาย้อมด้วยสี Giemsa หรือ Wright สังเกตลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ติดเชื้อที่มีการขยายขนาดและมีนิวเคลียสมากกว่าหนึ่งนิวเคลียสในเซลล์เดียวกัน
2.2. การตรวจแบบจำเพาะ ได้แก่
2.2.1. การตรวจด้วยวิธี ELISA มีการพัฒนาเป็นชุดน้ำยาสำเร็จรูปโดยหลายบริษัท ใช้ตัวอย่างส่งตรวจที่เก็บจากรอยโรค ระยะเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แต่พบว่าความไวค่อนข้างต่ำ แต่ความจำเพาะสูง
2.2.2. การตรวจหาเซลล์ติดเชื้อด้วยวิธี Immunofluorescent assay หรือ Immunoperoxidase assay ตัวอย่างที่ใช้เป็นเซลล์ติดเชื้อไวรัสที่เก็บจากบริเวณรอยโรค นำมาป้ายและตรึงบนสไลด์ ย้อมด้วยแอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัสแอนติเจน โดยแอนติบอดีตัวแรกนี้อาจติดสลากเรืองแสงหรือเอ็นไซม์ สังเกตเซลล์ที่ให้การเรืองแสงภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ หรือใส่สารซับสเตรดเพื่อให้เกิดสีตกตะกอนในเซลล์ และสังเกตเซลล์ติดสีที่เกิดขึ้นจากกล้องจุลทรรศน์ นอกจากการย้อมโดยตรงที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจใช้แอนติบอดีตัวที่ 2 ที่ติดสลากสารเรืองแสงหรือเอ็นไซม์ย้อมทับอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ให้ผลเร็ว ความจำเพาะสูง ข้อจำกัดคือตัวอย่างต้องมีเซลล์เพียงพอ และต้องใช้ผู้ชำนาญในการอ่านผล
2.2.3. การตรวจหาสารพันธุกรรม วิธีนี้มักใช้ในกรณีที่ต้องการความรวดเร็วและความจำเพาะสูง ปัจจุบันยอมรับเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HSV โดยตรวจจากตัวอย่างส่งตรวจน้ำไขสันหลัง เนื่องจากการเพาะแยกเชื้อจากน้ำไขสันหลังมีความไวเพียงร้อยละ 30 ทำให้ได้ผลลบปลอมสูง ซึ่งปัญหาหลักอยู่ที่ปริมาณไวรัสมีน้อยมาก และระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างไม่เหมาะสม ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ภายใน 3 วันหลังมีอาการโรค ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์หลัง 3 วันไปแล้ว การตรวจหาสารพันธุกรรมปัจจุบันมีการตรวจหลายวิธี ได้แก่ DNA hybridization, Polymerase chain reaction (PCR), Real time PCR, in situ hybridization เป็นต้น วิธีเหล่านี้มีความไวและความจำเพาะสูง เนื่องจากมีความไวสูงมาก ทำให้มีการปนเปื้อนได้ง่ายและเกิดเป็นผลบวกปลอม ดังนั้นจำเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมและผู้ชำนาญในการทำการทดสอบ
3. การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างที่นิยมใช้คือ น้ำเหลืองซีรั่ม การตรวจพบแอนติบอดีชนิด IgM เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ ซึ่งการตรวจแอนติบอดีนี้มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อครั้งแรก แต่ในรายที่มีการติดเชื้อซ้ำ ร่างกายของผู้ป่วยเหล่านั้นจะมีระดับแอนติบอดีอยู่แล้ว ทำให้การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG มักจะไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะการตรวจพบ IgG ก็ไม่บ่งบอกภาวการณ์ติดเชื้อปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจหาการเพิ่มขึ้น 4 เท่าหรือมากกว่าของระดับแอนติบอดีชนิด IgG ในน้ำเหลืองผู้ป่วยที่เก็บ 2 ครั้ง และการตรวจพบ IgM อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะการติดเชื้อได้ แต่ส่วนใหญ่ในผู้ติดเชื้อซ้ำมักตรวจไม่พบ IgM วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ ELISA และบางห้องปฏิบัติการยังใช้วิธี Immunofluorescent assay
      ความสำคัญในการจำแนกไทป์หรือชนิดของ HSV พบว่านอกจากมีความสำคัญในแง่ระบาดวิทยาแล้ว ยังช่วยในการพยากรณ์ความรุนแรงของโรค เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาระยะเวลาการให้ยารักษาโรค โดยทั่วไปพบว่า HSV-2 มักมีความรุนแรงของโรคมากกว่า HSV-1 จึงนิยมให้ยารักษาระยะนานกว่า วิธีการจำแนกไทป์ที่นิยมทำคือการใช้แอนติบอดีจำเพาะต่อไทป์ (โมโนโคลนอลแอนติบอดี) มาย้อมเซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มาจากตัวอย่างส่งตรวจโดยตรงหรือที่ได้จากการเพาะแยกเชื้อ หรือตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อไทป์ ซึ่งปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปของบริษัทจำหน่ายแล้ว

ไวรัสตับอักเสบบี
รูปที่6 : การก่อโรคไวรัสตับอักเสบบี
การวินิจฉัย
   - การตรวจการทำงานของตับ
    - การหาพยาธิสภาพของตับ
    - การตรวจทางรังสีวิทยา
การรักษา
    - โดยการเปลี่ยตับ
    - การให้วัควีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
การป้องกัน
    - การให้วัคซีนแบบ  Passive immunization
    - Active  immunization
 สาเหตุของโรคตับอักเสบ
1. เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,,ซี,ดี,อี
2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
4. เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย
การอักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง
    ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ร่างกายของบุคคลนั้นจะมีอาการหรือการตอบสนองได้หลายแบบคือ ประมาณ 50% ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการของโรคแต่อย่างใดเลย ผู้ที่ติดเชื้ออีกประมาณ 49% จะมีอาการบางอย่างเช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดตามกล้ามเนื้อหรือตามข้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน คนที่ติดเชื้อมักคิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่ติดเชื้อเพียง 1% เท่านั้นที่มีอาการตับอักเสบรุนแรง โดยมีอาการอ่อนเพลียอย่างมาก อาจเจ็บบริเวณชายโครงขวา และมีอาการเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเ;ข้มอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นอาการต่างๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลงจนเป็นปกติในเวลา 1-2 เดือน โดยทั่วไปผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณ 90% จะสร้างภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าแอนติบอดีต่อต้านไวรัส และกำจัดทำลายไวรัสไปได้ แม้ว่าบางคนจะมีอาการตับอักเสบบ้างแต่ก็จะหายเป็นปกติ คนที่ติดเชื้อที่เหลือ 5-10% สร้างแอนติบอดีได้ไม่มากพอที่จะกำจัดไวรัสได้หมดและจะกลายเป็นพาหะ (carrier) ของโรคตับอักเสบบีอย่างเรื้อรัง
     บุคคลที่เป็นพาหะของโรคนี้พบว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ เพราะไวรัสยังคงเพิ่มจำนวนอยู่ในตับของผู้นั้นทำให้เกิดการอักเสบของตับได้ ผู้ที่เป็นพาหะเรื้อรัง ของไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นในครอบครัวหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดได้ ผู้ที่เป็นพาหะ ต้องระวังรักษาสุขภาพ เช่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น อาหารพวกถั่วซึ่งขึ้นราง่าย ได้แก่ ถั่วลิสงป่นซึ่งมีสารพิษจากรา งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเพราะเป็นพิษต่อตับ
อาการและอาการแสดง
ไวรัสตับอักเสบบี  เป็นกลไกทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunologic) คือเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างภูมิต้านทานทั้งระบบCTL (cytoxic T Lymphocytes:CTL) และฮิวโมเรล ( Humural)มีความสำคัญมากในการกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่อยู่ในเซลล์ตับโดยไวรัสตับอักเสบบีจะแสดงส่วนของ(core)บนผิวของเซลล์ตับทำให้CLTที่ถูกกระตุ้นแล้วไปทำลายเซลล์และถ้าทำลายพร้อมกันมากๆก็จะเกิดตับวายขึ้นถ้าไม่มากจะเกิดเพียงตับอักเสบแบบเฉียบพลันโดยที่ต่อมาของร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อส่วนผิวของเชื้อ  และจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไป และในกรณีที่เป็นพาหะแสดงว่าภูมิคุ้มกันจะไม่สามารถไปทำลายเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้
  อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีแบ่งได้ 3 ระยะ
1.ตับอักเสบแบบเฉียบพลัน
2.ตับอักเสบแบบเรื้อรัง
3.ตับแข็ง
การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน
   จะมีอาการคล้ายไวรัสตับอักเสบเอคือมีอาการอ่อนเพลียอาจมีไข้ต่ำเบื่ออาหารเมื่อเริ่มหายจากไข้จะมีตัวเหลืองและตาเหลือง ตับโต กดเจ็บปัสสาวะมีสีเข้มอาการจะหาย 4-8สัปดาห์เมื่อหายจะตรวจพบ anti-HBs  บางรายจะเกิดภาวะตับวายเฉียบพลันโดยเด็กจะเริ่มมีอาการทางสมอง (hepatic encephalopathy)เกิดขึ้นประมาณสองสัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการตัวเหลือง แต่ในรายที่หายจะหายขาดและร่างกายจะกำจัดเชื้อได้หมด
ระยะที่2ตับอักเสบเรื้อรัง
    ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการของโรค มักไม่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีอาการตัวตาเหลืองการตรวจร่างกายอาจเป็นปกติ ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยดูการอักเสบของตับจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติ ในการทำงานของตับได้ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังที่มีอาการและเซลล์ตับได้รับการทำลายมากจะกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าไปครั้งแรก จะมีอาการน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงที่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือพาหะ (carrier) ของโรค
ระยะที่3ตับแข็ง
    ระยะแรกไม่มีอาการ หากมีอาการมากนั้นหมายถึงตับเริ่มเสื่อมลงโดยผู้ป่วยส่วนมากที่มาพบแพทย์จะมาเพราะอาการแทรกซ้อน
     ลักษณะอาการแบ่งได้ลักษณะ
อาการน้อย : อาจจะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ส่วนมากจะทราบตอนเจาะเลือดหรือไปบริจาคโลหิตจึงทำให้ทราบว่าเป็นโรคตับอักเสบบี
อาการชัดเจน : มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหารนำมาก่อนตัวเหลืองปัสสาวะเข้มอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารและจะดีขึ้นและหายไปผู้ป่วยจะมีระยะเวลาตาเหลืองตัวเหลืองไม่เท่ากันบางคนเป็นเพียงไม่กี่อาทิตย์แต่บางคนอาจนานสองถึงสามเดือน
อาการรุนแรง : ผู้ป่วยบางรายมีอาการของโรครุนแรงมากจนมีอาการซึม ตาเหลืองตัวเหลือง  ไม่รู้สึกตัวผู้ป่วยเหล่านี้ อาจมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะตับวายและเสียชีวิตในที่สุด
การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี
1) การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถกระทำได้โดย
2) การทำงานของตับ
3) การตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
4) การตรวจหาพยาธิสภาพของตับ
5) การตรวจทางรังสีวิทยา
6) การตรวจการทำงานของตับ
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี
        เด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน การรักษาที่สำคัญคือการประคับประคอง หรือรับตัวไว้ในโรงพยาบาล ถ้าเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ให้สารน้ำตามความเหมาะสมและการติดตามอาการ ถ้าเริ่มมีตัวเหลืองเด็กจะหงุดหงิดหรือซึมอาจเป็นการบ่งชี้ของภาวะตับวายเฉียบพลันเด็กควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการจะฉีดอินเตอร์เฟรอน(interferon) ติดต่อกันอย่างน้อย4-6เดือนจึงจะเริ่มเห็นผลซึ่งจะมีอาการอักเสบของตับลดลงพร้อมทั้งปริมาณของไวรัสที่ลดลงด้วยให้ยารับประทาน ลาวิมูดีน (Lamivudine)ซึ่งได้ผล จะช่วยยับยั้งการผลิต DNA ยาอยู่ในรูปของยาเม็ดซึ่งดูดซึมได้ดีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และขนาดยาที่ใช้คือ 3มก/กก/วัน ให้เป็นเวลานาน1ปี
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยการเปลี่ยนตับ
       ไวรัสตับอักเสบชนิดรุนรงวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คือการเปลี่ยนตับผู้ที่ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยน จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานเพื่อไม่ให้ร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อต้านตับ ที่นำมาเปลี่ยนให้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น